ทัวร์ภูฎาน

ท่องเที่ยวภูฎาน

 

ภูฎาน : ภูฏานเป็นประเทศเล็กๆที่ถูกปิดล้อมทั้งด้วยธรรมชาติและอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน เพราะถูกขนาบด้วยจีนและอินเดียซึ่งเป็นประเทศใหญ่และมีอิทธิพล แต่ภูฏานสามารถดำรงความเป็นประเทศอิสระมาโดยตลอด ด้านการท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวจำนวนไม่มากนักที่เดินทางไปภูฏานได้ เนื่องจากที่ตั้งของประเทศยากแก่การเข้าถึง และนโยบายของรัฐบาลที่ไม่ต้องการให้นักท่องเที่ยวเข้าไปในประเทศของตนมากเกินไป จึงจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้าภูฏานเอาไว้ไม่ให้เกินอัตราที่กำหนดคือ ประมาณปีละ 5,000-7,000 คน (สถิติล่าสุดในปี ค.ศ.2004 จำนวนนักท่องเที่ยว 9,000 คน ปีค.ศ.2005 จำนวนนักท่องเที่ยว 15,000 คน) ภูฏานมีชื่อเสียงในความเป็นเมืองพุทธศาสนาบนเทือกเขาหิมาลัย ที่มีธรรมชาติสวยงามบริสุทธิ์ จนได้รับการยกย่องว่าเป็น “สวรรค์บนดิน”

 

สภาพภูมิอากาศ : เนื่องจากภูฏานเป็นประเทศเล็ก สภาพอากาศทั่วประเทศจึงไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก โดยมากเป็นแบบกึ่งร้อน มีฝนตกชุก ยกเว้นทางตอนเหนือซึ่งเป็นบริเวณเทือกเขาสูง มีอากาศหนาวเย็นมาก บนยอดเขามีหิมะปกคลุมเกือบตลอดปี บริเวณนี้อุณหภูมิเฉลี่ยติดลบถึง 10 องศาเซลเซียส (หน้าร้อน) ตอนกลางวันอุณหภูมิประมาณ 15-25 องศาเซลเซียส ตอนกลางคืน อุณหภูมิเฉลี่ย 10-15 องศาเซลเซียส ภูฏานเป็นประเทศเดียวในเทือกเขาหิมาลัยที่มีฤดูมรสุม (เดือนมิถุนายน-กันยายน) ในระหว่างฤดูมรสุมภูฏานจะมีฝนตกทุกคืน ตอนกลางวันวันไหนถ้าฝนไม่ตกจะมีเมฆมาก และก้อนเมฆลอยต่ำปิดบังยอดเขาและภูมิประเทศรอบๆ


เวลา : ใช้เวลามาตรฐานแบบ UTC/GMT +6 ชั่วโมง

           ไม่มีการปรับเปลี่ยนเวลาตามฤดูกาล

           ตัวย่อเขตเวลาคือBTT – Bhutan Time

           เมื่อเทียบระยะเวลาที่แตกต่างจากเวลาของประเทศไทย เวลาในประเทศภูฏานเดินช้ากว่าเวลาในประเทศไทย 1 ชั่วโมง

 

ภาษา : ภาษาราชการของภูฏานคือ ภาษาซองคา (Dzongkha) เดิมเป็นภาษาถิ่นที่ใช้กันในแถบตะวันตกของภูฏาน ภายหลังได้กลายเป็นภาษาประจำชาติ ในโรงเรียนมีการสอนภาษาอังกฤษเป็นวิชาบังคับ ดังนั้น ชาวภูฏานจึงรู้ภาษาอังกฤษและใช้สื่อสารได้ ชาวภูฏานในแต่ละภูมิภาคมีภาษาพูดต่างกัน เช่น คนที่อยู่ทางภาคตะวันออกพูดภาษา Sharchop ส่วนทางใต้ที่มีพลเมืองเชื้อสายเนปาลพูดภาษาเนปาลี และในตอนลางของประเทศ ตามหมู่บ้านเล็กๆที่อยู่ห่างไกลเมืองใช้ภาษาในท้องถิ่นสื่อสารกัน ภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษากลางที่ใช้ได้กับคนภูฏานทุกภาค

 

เงินตรา : หน่วยเงินของภูฏานคือ นิงูตรัม / นิวง์ตรัม ตัวย่อสกุลเงินคือ (Nu) หน่วยเงินภูฏานผูกติดกับเงินอินเดียรูปี ดังนั้น 1 นิงูตรัมมีค่าเท่ากับ 1 อินเดียรูปี โดย 1 นิงูตรัมจะแบ่งออกเป็น 100 ชีตรัม โดยเหรียญจะประกอบไปด้วย 25 ชีตรัม 50 ชีตรัม และ 1 นิงูตรัม ส่วนธนบัตร จะมีแบบ 1, 5, 10, 20, 50, 100, 500 และ 1000 นิงูตรัมโดยบนแต่ละธนบัตรก็จะมีรูปซองแตกต่างกันออกไป อินเดียรูปีถูกใช้อย่างแพร่หลายในภูฏาน ดังนั้นคนไทยที่ต้องการแลกเงินก่อนไปประเทศภูฏานสามารถทำได้สองวิธีคือ แลกเป็นเงินอินเดียรูปีจากประเทศไทยไปโดยท่านสามารถใช้รูปีได้ตามปกติแต่ท่านไม่ต้องแปลกใจหากท่านได้เงินทอนกลับมาเป็น นิงูตรัม (บางร้านอาจไม่รับธนบัตรอินเดียรูปีมูลค่า 500 และ 1,000 เนื่องจากธนบัตรเหล่านี้มีการปลอมแปลงมากในอินเดีย ท่านจึงควรแลกธนบัตรที่มีมูลค่าน้อยกว่านี้ในการใช้จ่ายในภูฏาน) แลกเป็น US dollar จากประเทศไทย และไปแลกเป็นเงินสกุลนิงูตรัมที่ภูฏานโดยท่านสามารถแลกได้ที่สนามบิน หรือธนาคารตามหัวเมืองใหญ่ๆในภูฏาน

 

ข้อควรระวัง เช่นเดียวกันเงินสกุลนิงูตรัมก็ไม่สามารถมาแลกคืนที่ประเทศไทยได้ ดังนั้นก่อนเดินทางกลับท่านต้องไม่ลืมที่จะแลกเงินนิงูตรัมกลับไปเป็น US dollar หรือ อินเดียรูเปียเพื่อจะใช้แลกกลับเป็นเงินสกุลบาทไทย

 

ระบบไฟฟ้า : แบบปลั๊กไฟในภูฏานจะมีทั้ง ขากลม 2 ขาและขากลม 3 ขา ภูฏานใช้แรงดันไฟฟ้าปกติคือ 230 โวลต์ ที่ความถี่ 50 เฮิร์ต 230V/50hz

 

การใช้โทรศัพท์ : การใช้โทรศัพท์ภายในภูฏานโทรทางไกลต่างประเทศสะดวกมา โดยเฉพาะในเมืองที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว เพราะแต่ละบริษัทและตัวแทนท่องเที่ยวจะมีอุปกรณ์ในการสื่อสารครบทุกอย่าง ส่วนโทรศัพท์มือถือในภูฏานให้บริการโดย B Telecom (Bhutan Telecom) ที่มีเครือข่ายครอบคลุมเมืองสำคัญๆ ทุกเมือง

 

การให้ทิป : แนะนำให้เตรียมเงินดอลล่า ใบละ 1 ดอลล่า จะได้สะดวกในการใช้ทำบุญหรือการให้ทิป เพราะเงินงุลดรัม ส่วนใหญ่เป็นใบ 100, 500, 1,000

 

อาหารการกิน : อาหารท้องถิ่น ชีสและพริกสิ่งหนึ่งที่เป็นเรื่องปกติสำหรับการรับประทานอาหารของชาวภูฏาน นั่นก็คือชาวภูฏานชื่นชอบอาหารรสจัด! พริกไม่ถือว่าเป็นเครื่องปรุง แต่มันเป็นผักที่มีคุณค่าอย่างแท้จริง ดังนั้นอาหารภูฏานแบบดั้งเดิมมักตกแต่งอย่างหรูหราด้วยพริกแห้งหรือพริกสดสีแดงและสีเขียว ในระหว่างที่อยู่ในประเทศภูฏานคุณจึงควรลิ้มลองอาหารประจำชาติ อีมา ดา (Ema Datshi) ดังภาพข้างต้น ซึ่งประกอบด้วยพริก (Ema) ปรุงด้วยชีส (Datsh) เมนูนี้ได้ดัดแปลงเป็นอาหารอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น มันฝรั่งและชีส (Kewa Datshi) เห็ดและชีส (Shamu Datshi) ร้านอาหารส่วนใหญ่ในภูฏานจะมีเมนูเหล่านี้เป็นอาหารมาตรฐาน ในการสั่งอาหารคุณควรแจ้งให้พนักงานทราบระดับความเผ็ดที่คุณต้องการ จำนวนพริกที่คุณสามารถทานได้ในมื้ออาหารข้าวแดงเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างมากและคล้ายคลึงกับข้าวกล้อง นับเป็นอาหารหลักที่ทานกันอย่างแพร่หลายในประเทศภูฏาน หลังจากปรุงสุกข้าวแดงมีลักษณะเป็นสีชมพูอ่อน นุ่มและเหนียวเล็กน้อย มาพร้อมกับเครื่องเคียงที่มีเนื้อสัตว์หรือผัก 1 หรือ 2 จาน เนื้อหมู เนื้อวัวและเนื้อไก่ที่เป็นอาหารประจำของชาวภูฏาน ส่วนผักที่นิยมทานโดยทั่วไปมีทั้งผักโขม ฟักทอง ผักกาด มะเขือเทศ ไคแผ่น (Riverweed) หัวหอมและถั่วเขียว อย่างไรก็ตามในเมืองเมืองบุมธัง (Bumthang) แพนเค้กบัควีทและก๋วยเตี๋ยวจะเป็นอาหารจานหลักแทนข้าวอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวอาหารภูฏานได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมของชาวจีน ชาวทิเบตและชาวอินเดีย อาหารจานหลักโดยทั่วไปจะมีทั้งข้าวสีขาวหรือสีแดง ผักตามฤดูกาลและเนื้อสัตว์ (เนื้อหมูและไก่) มักจะปรุงด้วยพริกหรือชีส ถ้าคุณชอบอาหารจีน คุณก็จะเอร็ดอร่อยไปกับอาหารภูฏาน อย่างไรก็ตามโปรดทราบว่าชาวภูฏานชอบปรุงอาหารด้วยชีส คุณจึงเห็นว่าส่วนผสมของอาหารมักจะมีชีสรวมอยู่ด้วย หากคุณเป็นคนเลือกรับประทานอาหาร คุณอาจลองอาหารที่ทานง่าย ๆ เช่น เนื้อหมูแห้งและพริกตากแห้ง

 

รายการช้อปปิ้ง : ของฝากของภูฏานมีจุดเด่นจากเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ 2 ประการคือ

  • ชาวภูฏานไม่ได้ผลิตสินค้าหัตถกรรมขึ้นเป็นจำนวนมากเพื่อการค้าเหมือนประเทศอื่นที่ขายการท่องเที่ยวเป็นหลัก ดังนั้น สินค้าภูฏานจึงมีค่าตรงที่เป็นของชาว    บ้านทำขึ้นเพียงไม่กี่ชิ้น และบางชิ้นอาจมีชิ้นเดียวในโลก
  • ประเพณีการซื้อขายของชาวภูฏานจะไม่มีการต่อรองราคา และคนขายไม่ได้บอกราคาไว้เผื่อต่อ ดังนั้น ราคาสินค้าจึงเป็นราคาตายตัว ใครมาซื้อขายก็ต้องซื้อขายราคาเดียวกัน หรือหากจะมีการลดราคาได้บ้างก็ลดได้ไม่เกิน 10%1 เท่านั้น

• ของฝากจากภูฏานที่มีขายในตลาดภูฏาน มักเป็นของชิ้นเล็กๆ ราคาไม่แพงและไม่กินเนื้อที่ในกระเป๋าเดินทาง สินค้าที่มีราคาแพงมากคือ ทังกา ซึ่งต้องเป็นของที่ทำขึ้นใหม่เท่านั้น ไม่ใช่ของเก่าที่ห้ามนำออกนอกประเทศ ถ้าเป็นทังกาที่เขียนลวดลายสีสันสวยงาม หรือเป็นผ้าที่ทอลายสอดเส้นไหม หรือสอดเส้นโลหะทองคำ ราคาจะแพงขึ้นไปอีก ราคาเริ่มต้นที่ 20 ยูโร-500 ยูโร

 

• ผ้าทอภูฏาน ผ้าทอเป็นสิ่งที่เชิดหน้าชูตาของภูฏาน มีรูปลักษณ์คล้ายผ้าทอของลาว อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ อเมริกากลาง และเปรู เสื้อผ้าของชาวภูฏานที่ทอด้วยฝ้ายดิบย้อมสีธรรมชาติ เป็นของฝากจากภูฏานที่น่าสนใจ มีฝีมือการทอที่ทั่วโลกยกย่องชื่นชม หาซื้อได้ตามตลาดในชนบท ที่เมืองทิมพู ชาวบ้านเอามาขายที่ตลาดวีคเอ็น แต่เสื้อผ้าที่ทอด้วยเครื่องจักรเป็นสินค้าจากอินเดียและเนปาล ราคาถูก เพราะไม่ใช่ผ้าทอมือ มีทั้งโก เสื้อผ้าสำหรับผู้ชาย กับคีร่า ผ้านุ่งของผู้หญิง ผ้าทอภูฏานเป็นผ้าหน้าแคบขายกันเป็นชิ้น ไม่ได้วัดเป็นเมตร (ถ้าทอด้วยไหมจะมีราคาแพงมาก) โกและคีร่าทำจากผ้าหลายชิ้น เอามาเย็บต่อๆ กันให้เป็นชิ้นใหญ่ ส่วนผ้าพาดไหล่ที่ผู้ชายภูฏานใช้สำหรับไปวัด หรือแต่งตัวไปงานที่เป็นทางการ เป็นสินค้าขายดี เพราะนักท่องเที่ยวนิยมซื้อไปใช้เป็นผ้าพันคอ

 

• ผ้าที่ถูกที่สุดคือผ้าฝ้ายสีพื้น ในขณะที่ผ้าทอที่แพงที่สุดเป็นผ้าทอทั้งผืน ใช้เวลาทอนานหลายเดือน และต้องใช้ความอุตสาหะอย่างมากในการสอดใส่เส้นไหมทอขึ้นเป็นลวดลายอันละเอียดประณีต บนพื้นผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมเอง ผ้าแต่ละชนิดจะทอขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ต่างกันไป บ้างทอเพื่อทำเข็มขัดหรือสายรัดเอว บ้างทอขึ้นเพื่อทำเป็นชุดประจำชาติสำหรับผู้หญิง (กีรา) ชุดประจำชาติสำหรับผู้ชาย (โก) ผ้าสะบายบ่าของผู้หญิง (ราชู) ผ้าสะพายบ่าของผู้ชาย (กับเนะ) ชุดที่ใช้ในงานพิธี (ชาซีปังเค็น) หรือถุงย่าม (เปซุงหรือบุนดี) ส่วนผ้าขนสัตว์ยาทระของบุมทังนั้น ใช้สำหรับเย็บผ้าคลุมเตียง ปลอกหมอน และเสื้อแจ็กเก็ตโดยเฉพาะ

 

• เครื่องประดับอัญมณีและเครื่องเงิน สินค้าของฝากเครื่องเงินที่เตะตานักท่องเที่ยวมากที่สุดคือ กล่องไม้ หรือภาชนะสำหรับใส่ของ เช่น ใส่ขวดเหล้าหรือไวน์ เป็นงานไม้ที่ประดับด้วยเงิน ตีเป็นแผ่นและตกแต่งด้วยการฝังเม็ดเงินลงไปในเนื้อไม้เป็นลวดลายต่างๆ ส่วนเครื่องเงินที่ทำเป็นของที่ระลึกอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ เชี่ยนหมาก ทำเป็นกล่องไม้สี่เหลี่ยม มีที่ใส่หมาก พลู และปูนซึ่งทำด้วยเงินแท้ ลักษณะคล้ายเชี่ยนหมากของไทย เพราะชาวภูฏานกินหมากเป็นประจำและมีธรรมเนียมในการรับแขก ด้วยการนำหมากพลูกับน้ำชามารับแขก

 

• เครื่องประดับอัญมณี ของภูฏานมีไม่มากแต่สวยสะดุดตา ทั้งเข็มกลัดเงินคู่ดุนลายและใช้โซ่ร้อยเข้าด้วยกัน ตุ้มหูทองฝังเทอร์ควอยซ์ กำไลเงินวงใหญ่แกะลายหรือฝังหินปะการังกับเทอร์ควอยซ์ เข็มขัดเงิน และสร้อยไข่มุก เครื่องประดับชนเผ่าต่างๆ เช่น แหวนปะการัง พลอยลาปิช หรือเทอร์ควอยซ์ทำเป็นหัวแหวน

 

• ทิมพูและพาโรเป็นแหล่งที่มีเครื่องประดับและเครื่องเงิน ให้เลือกมากที่สุด ถ้าเป็นที่ทิมพูต้องไปที่เอ็มโพเรี่ยม ร้านนอร์ลิง และเซริงโดรกา ร้านดรุ๊กตรินแฮนดิคราฟต์ของโรงแรมวังชุก ร้านเกลซังแฮนดิคราฟต์ในห้างดรุ๊กช้อปปิ้งคอมเพล็กซ์ ร้านนอร์ลิงในโรงแรมดราก้อนรูตส์ ร้านอาร์ตชอปที่จัตุรัสหอนาฬิกาและร้านตาชิเยอร์บาร์ตรงหัวมุมด้านซ้ายของห้างดรุ๊กชอปปิ้งคอมเพล็กซ์

 

• งานไม้แกะสลัก งานแกะสลักด้วยไม้จากภูฏาน ที่เป็นที่นิยมกันมากคือ หน้ากากไม้ทาสีที่พระสวมใส่เวลาร่ายรำทำพิธีทางศาสนาในเทศกาลต่างๆ หน้ากากไม้ที่ทำเป็นของที่ระลึกมี 2 ขนาด คือ หน้ากากขนาดเล็ก กับหน้ากากขนาดใหญ่เท่าของจริง งานเครื่องไม้ที่ถือว่างามทีุ่สดคือ ของตกแต่งผนังกำแพง และโต๊ะเล็๋ก ๆที่เรียกว่า โชดม มักออกแบบให้พับเก็บได้ และมักลงสีไว้อย่างสวยงาม หน้ากากมีทั้งหน้ากากหน้ามนุษย์ หน้าสัตว์ และหน้าเทพเจ้าที่ใช้ในระบำทางศาสนา มีวางขายอยุ่ทั่วไป มีจำหน่ายที่ ร้านเชอกีแฮนดิคราฟต์ โรงเรียนช่างสิบสามหมู่ ตลาดนัดทิมพู

 

• เครื่องจักสานจากหวายและไม้ไผ่ ถ้าเป็นข้าวของเครื่องใช้ในชีวีตประจำวันจะมีราคาถูกที่สุด และเป็นของภูฏานแท้ที่เหมาะจะเป็นของฝากจากภูฏานที่สุดด้วย ร้านค้าบางร้านในทิมพูและที่ตลาดนัดสุดสัปดาห์ขายสินค้าจำพวกที่กรองใบชา ที่กรองสุรา หมวกทรงกล้วย กระบอกใส่ลูกธนู โตกสำหรับยกข้าวมาเสริฟ กระด้งรูปสี่เหลี่ยมสำหรับฝัดข้าวและธัญพืช กระบอกไม้ไผ่ใส่สุรา และกระบุงทรงสี่เหลี่ยมพร้อมฝาปิด

 

• กระดาษสา หนังสือ และสิ่งของที่ทำด้วยกระดาษสา เช่น กระดาษห่อของขวัญ กระดาษและซองจดหมาย เป็นสินค้าแฮนเมดของภูฏานที่น่าสนใจมาก กระดาษที่ภูฏานเป็นกระดาษที่ทำขึ้นด้วยมือ เหมาะจะนำไปวาดภาพ คัดอักษร และใช้ห่อของขวัญ เมืองทิมพูมีโรงงานทำกระดาษ Jungzhi Handpeper อยู่ในเมือง มีการสาธิตกรรมวิธีการทำกระดาษ ตัวอย่างกระดาษประเภทต่างๆ ตลอดจนเลือกซื้อกระดาษภูฏานเป็นของฝาก และมีร้านขายหนังสือใหญ่ 4 ร้าน ในร้านขายหนังสือภาษาอังกฤษ มีทั้งหนังสือ นิตยสารและหนังสือเล่ม ร้านหนังสือที่อยู่ใกล้โรงแรมดรุก มีอยู่ 2 ร้านคือ ร้าน DBS และ ร้าน Bookworld ในร้านมีหนังสือทุกประเภท รวมทั้งหนังสือประวัติศาสตร์และหนังสือเกี่ยวกับศาสนา ร้านของทางหอสมุดแห่งชาติอยู่เยื้องห้างเอ็มโพเรียมมีหนังสือแบบโบราณของภูฏานจำหน่าย


เทศกาลสำคัญ : งานเทศกาลทางศาสนา

  • เทศกาลทางศาสนาของภูฏานที่คนรู้จักกันมากที่สุดคือ เทศกาลเซซูที่จัดขึ้นเพื่อบูชาคุรุรินโปเซ (คุรุปัทมสัมภวะ) และเพื่อรำลึกถึงเรื่องราวของท่าน ซึ่งมีควาามเชื่อว่า เรื่องราวสำคัญๆ ในชีวิตท่านล้วนอุบัติขึึ้นในวันที่สิบของเดือน งานเซซูมักจะจัดขึ้นกันตั้งแต่ 3-5 วันตามธรรมเนียมของแต่ละท้องที่ ในงานจะมีการแสดงระบำ แต่เป็นระบำทางศาสนาไม่ใช่ทางโลก ผู้แสดงอาจเป็นพระ ฆราวาส หรือกมเซ็น(พระบ้าน) ก็ได้ รายการแสดงจะเหมือนกันหมดทุกท้องที่ งานเซซูจะจบลงด้วยการนำภาพทังก้าหรือภาพพระบฎขนาดมหึมา แสดงภาพคุรุรินโปเซกับภาคสำแดงทั้งแปดของท่านออกมาให้คนบูชา ชาวภูฏานเรียกภาพพระบฎแบบนี้ว่า ทงเดรล หมายความว่า เพียงแค่มองก็ทำให้ผู้มองหลุดพ้นจากห้วงสังสารวัฏได้
  • งานเทศกาลทางศาสนาของภูฏานส่วนใหญ่เป็นเทศกาลที่เกี่ยวเนื่องกับความอุดมสมบูรณ์และรุ่งเรือง สำหรับชาวภูฏานแล้วงานเทศกาลทางศาสนาถือเป็นโอกาสสำคัญในการเข้าสู่กระแสธรรมและการสั่งสมบุญกุศล ทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้คนได้มาพบปะพูดคุยโอ้อวดฐานะและความสำเร็จกัน ชาวภูฏานจะสวมเสื้อผ้าชุดที่ดีที่สุด สวมเครื่องประดับที่สวยที่สุด เตรียมอาหาร เนื้อสัตว์ มาปิกนิกกัน หญิงชายได้พบหน้าเกี่ยวพาราสี
  • เทศกาลทางศาสนาบางงานจะจัดแสดงระบำเพียง2-3 อย่าง แล้วใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการสวดพระสูตรบางตอน ชาวบ้านในหมู่บ้านใกล้เคียงจะมุ่งหน้ามารวมตัวกันที่วัดเพื่อเข้าร่วมพิธีสวดและดื่มสุราไปพร้อมๆ กัน หมู่บ้านแต่ละแห่งจะมีงานเทศกาลทางศาสนาประจำปีของตน บางแห่งจะจัดแสดงระบำด้วย บางแห่งก็จัดแต่พิธีสวดมนต์ พอถึงหน้าเทศกาล ลูกหลานที่ย้ายไปใช้ชีวิตอยู่ในเมืองใหญ่ จะมุ่งหน้ากลับบ้านพร้อมเรี่ยไรเงินมาช่วยกันทำบุญอย่างพร้อมหน้า

 

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ :  ตาชิโชซอง หรือ ทิมพูซอง เป็นศูนย์กลางการปกครองและศาสนาและเป็นสัญลักษณ์ประจำเมือง ภายในแบ่งแยกเป็นเขตฆราวาสและสังฆาวาส และลานอเนกประสงค์ ซึ่งใช้จัดการแสดงเซชูในเทศกาลสำคัญ สร้างเมื่อพุทธศตวรรษที่ 12 โดยลามะจากทิเบต จน พ.ศ. 2184 ซับดรุง นัมเกลจึงเข้ามายึดครองและตั้งชื่อใหม่ว่าตาชิโชซอง แปลว่าปราการของศาสนาที่ยิ่งใหญ่ ภายหลังเกิดไฟไหม้จึงถูกทิ้งร้างไป มาซ่อมแซมใหม่ในสมัยสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ดอร์จิ วังชุก

 

-อนุสรณ์สถานชอร์เตน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2517 เพื่อถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ดอร์จิ วังชุก เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาของภูฏาน ประกอบด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนัง เป็นพุทธประวัติและพระพุทธรูปต่าง ๆ

-ดทักชัง Taktshang Goemba หรือ "รังเสือ - Tiger Nest" แปลว่า วัดถ้ำเสือ ตั้งอยู่บนหน้าผาสูง 900 เมตร ชายเขตเมืองปาโร วัดนี้ถูกไฟไหม้จนเสียหายหลายครั้งเมื่อ พ.ศ. 2494 และ พ.ศ. 2541 แต่ก็ซ่อมแซมและบูรณะขึ้นใหม่ทุกครั้ง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวภูฏาน

 -วัดชากังข่าเป็นวัดที่อยู่ทางเหนือของทิมพู สร้างขึ้นโดยลามะจากทิเบตเมื่อพุทธศตวรรษที่ 12 ลานอเนกประสงค์ของวัดเป็นจุดชมวิวเมืองทิมพูอย่างดี

 -วัดตันโกอยู่ทางตะวันออกของทิมพู สร้างในพุทธศตวรรษที่ 12 และสร้างเพิ่มเติมโดยลามะฉายา เทวะผู้บ้าคลั่ง ในพุทธสตวรรษที่ 15 ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 16 ซับดรุง นัมเกล ได้มาปฏิบัติธรรมที่วัดนี้ และได้แกะสลักพระพุทธรูปไม้จันทน์ไว้ด้วย

 -วัดเชอรีอยู่ห่างจากวัดตันโกด้วยระยะทางเดินเพียงครึ่งชั่วโมง โดยต้องข้ามสะพานไม้ที่ทอดข้ามแม่น้ำวัง และเดินขึ้นเขาไปอีก ซับดรุง นัมเกล เป็นผู้สร้างวัดนี้เมื่อ พ.ศ. 2163

 -พาโรซอง หรือ รันเซนปุงซองแปลว่า ป้อมปราการแห่งอัญมณี สร้างโดยซับดรุง นัมเกลเมื่อ พ.ศ. 1921 โดยก่อจากฐานเดิมที่คุรุรินโปเชสร้างไว้

Visitors: 832,068