ทัวร์กัมพูชา

ท่องเที่ยวกัมพูชา

กัมพูชา : ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) เป็นชื่อทางการของประเทศกัมพูชา หรือที่เรารู้จักกันในอีกชื่อว่า   "เขมร"   กัมพูชาเป็นแหล่งอารยธรรมอันยิ่งใหญ่ของอาณาจักรขอมโบราณ  ปัจจุบันโบราณสถานที่หลงเหลืออยู่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของโลก  และได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลก ในอดีตนั้นชนชาติที่อาศัยอยู่ในดินแดงนี้คือ "ขอม"   ต่อมาเรียกว่า   "เขมร"   จนเป็นกัมพูชาเช่นปัจจุบัน ประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศกัมพูชาส่วนใหญ่เป็นชาวกัมพูชาร้อยละ 96   นอกนั้นเป็นชาวเวียดนาม  จีน  และอื่นๆ กัมพูชาแต่เดิมเคยตกเป็นอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2406 ต่อมาได้มีการเรียกร้องเอกราชคืนจากฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2490 ซี่งในขณะนั้น ฝรั่งเศสกำลังเป็นฝ่ายเสียเปรียบในสงครามกับเวียดนาม จึงได้ตกลงให้เอกราชแก่กัมพูชา และในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 กัมพูชาจึงได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ตามข้อตกลงในสนธิสัญญาเจนีวาพร้อมกับลาว และเวียดนาม ชาวกัมพูชาในปัจจุบันมีอุปนิสัยที่พร้อมจะจับจ่ายใช้สอยเพื่อแสดงถึงฐานะของตน  และแม้กัมพูชาและเป็นสังคมเกษตรกรรม   แต่ชาวกัมพูชาบางส่วนหารายได้ให้มากขึ้นด้วยการขายที่ดินให้ชาวต่างชาติ  แล้วนำเงินมาซื้อรถ  โทรศัพท์มือถือ  เครื่องใช้ไฟฟ้า  หรือซื้อทองเก็บสะสมแทนเงินสด กัมพูชาเป็นเมืองเกษตรกรรม ประชากรราวร้อยละ 85   ประกอบอาชีพเกษตรกรและอาศัยอยู่ในชนบท  อาชีพหลักของชาวกัมพูชาคือ   เกษตรกรประมาณ ร้อยละ 70  อยู่ในภาคบริการประมาณร้อยละ 17   เป็นลูกจ้างโรงงานประมาณร้อยละ 8  และแรงงานก่อสร้างประมาณร้อยละ 5  ประชากรส่วนใหญ่มีรายได้ไม่สูงนัก

 

สภาพภูมิอากาศ : กัมพูชาเป็นประเทศที่มีภูมิอากาศร้อนชื้น โดยได้รับอิทธิพลของมรสุมเขตร้อน โดยมี 4 ฤดู มีฤดูฝนยาวนาน ฤดูฝนเริ่มจากเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 20 – 36 องศาเซลเซียสอุณหภูมิเฉลี่ยในกรุงพนมเปญ 27 องศาเซลเซียส ฤดูแล้งเริ่มจากเดือนพฤศจิกายน – เมษายน เดือนเมษายนมีอุณหภูมิสูงสุดที่สุด เดือนมกราคมมีอุณหภูมิต่ำที่สุด เดือนตุลาคมมีฝนตกชุกที่สุด

 

เวลา : เท่ากับประเทศไทย (GMT+7)

 

ภาษา : ภาษาเขมร (Khmer) เป็นภาษาราชการของกัมพูชา ซึ่งประชากรบางส่วนสามารถสื่อสารเป็นภาษา

ฝรั่งเศส ไทย จีน และอังกฤษ

 

เงินตรา : กัมพูชาคือ “เรียล” RIEL หรือ CR อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 4,000 Riels = 1 USD /100 เรียล (Riel) = 1 บาท

 

ระบบไฟฟ้า :  กัมพูชา ใช้กระแสไฟฟ้าแบบ 220 โวลต์ เหมือนบ้านเรา ทั้งแบบกลม และแบบแบน 2 รู สามารถนำอุปกรณ์ไฟฟ้าจากเมืองไทยไปใช้งานได้ปกติ

 

การใช้โทรศัพท์ : เบอร์ไทยไปเบอร์กัมพูชา

  • ส่ง sms จาก เครือข่าย DTAC ครั้งละ 5 บาท
  • ส่ง sms จาก เครือข่ายอื่น ๆ ครั้งละ 9 บาท
  • โทรจากไทย นาทีละ 30 บาท สำหรับ 001 และ 24 บาท สำหรับ 009
  • เบอร์กัมพูชามาเบอร์ไทย
  • ส่ง sms ครั้งละ 10 cent (ประมาณ 4 บาท)
  • โทรจากกัมพูชา นาทีละ 40 บาท


เอกสารในการยื่นวีซ่า หนังสือเดินทางตัวจริงที่มีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือนและมีหน้าว่างอย่างน้อย 3 หน้า รูปถ่ายสี ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 ใบ ,สำเนาบัตรประชาชน ,แบบฟอร์มวีซ่ากรอกข้อมูลครบถ้วนและเซ็นต์ชื่อ 2 ชุด

สามารถยื่นขอวีซ่าท่องเที่ยวได้ที่สนามบินขาเข้าของกัมพูชาได้

  • โปรดเตรียม: รูปถ่ายสี หรือ ขาวดำ ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 ใบ)
  • สามารถออกเป็น Electronic visa ได้
  • หนังสือเดินทางข้าราชการเล่มสีน้ำเงินไม่ต้องทำวีซ่าอยู่ได้ 30 วันหรือ 60 วันขึ้นอยู่กับ ต.ม.ที่กัมพูชา
 
 

การให้ทิป : เนื่องด้วยประเทศกัมพูชา (เขมร)ไม่ได้มีวัฒนธรรมการให้ทิปตั้งแต่ดั้งเดิม แต่การให้ทิปก็ถือเป็นสินน้ำใจที่ดีเพราะคนเขมารเองเงินเดือนค่อนข้างน้อย การให้ทิปแก่พนักงานจะทำให้คุณได้รับบริการเป็นอย่างดี แต่ส่วนมากในโรงแรมหรือร้านอาหารใหญ่ ๆ จะคิดค่าเอร์วิสชาร์จรวมเอาไว้เรียบร้อยแล้ว

 

อาหารการกิน : อาหารของชาวกัมพูชามีรสชาติและหน้าตาคล้ายคลึงกับอาหารไทย อาหารขึ้นชื่อของที่นี่คืออาหารที่ปรุงจากปลา อาหารพื้นเมือง ที่ขึ้นชื่อของกัมพูชา ได้แก่ ข้าวห่อใบบัว ทานกับ อามก (ห่อหมกขะแมร์) ขนมจีนน้ำยา ซุปชนังเดย (สุกี้) ก๋วยเตี๋ยวเขมร เป็นต้น นอกจากนี้ที่นี่ยังมีขนมปังฝรั่งเศสวางขายอยู่ทั่วไปตามท้องถนน

 

รายการช้อปปิ้ง : ตลาดซาจ๊ะ (Psar Chaa) เป็นตลาดเก่าแก่ ของเมืองเสียมเรียบอยู่ติดกับแม่น้ำเสียมเรียบ แม่น้ำ สายเล็กๆ ที่ไหลผ่านกลางเมือง มีอาคารที่สร้าง ในยุคฝรั่งเศสปกครอง ตลาดซาจ๊ะมีสินค้าประเภท ของฝาก ของที่ระลึก ของท้องถิ่น ได้แก่ เสื้อผ้า กระเป๋า ผ้าทอ เครื่องเงิน อัญมณีเสื้อผ้ารองเท้า กระเป๋า และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากปลา ซึ่งเกือบทั้งหมด นำมาจากทะเลสาบโตนเล

ตลาดกลางคืน หรือ “ไนท์มาร์เกต” เป็น ตลาดที่นักท่องเที่ยวนิยมมาซื้อของที่ระลึกเป็น ของฝาก มีตลาดแบบนี้อยู่หลายแห่งในเมือง เสียมเรียบ เช่น อังกอร์ไนท์มาร์เกตอาร์ตเซ็นเตอร์ เสียมเรียบไนท์มาร์เกต นูนไนท์มาร์เกตตานีไนท์ มาร์เกตเป็นต้น ตลาดเหล่านี้ตั้งอยู่ใกล้กับตลาดเก่า ที่ตั้งอยู่กลางเมืองเสียมเรียบ

ตลาดรัสเซีย (หรือ ตวลตมปูง) ตั้งอยู่ ในกรุงพนมเปญ ชาวบ้านเรียกว่า “ตลาดรัสเซีย” ตลาดรัสเซียเป็นแหล่งรวบรวมของเก่าทั้งของแท้ และของเลียนแบบผ้าไหมของกัมพูชา เครื่องเคลือบ ไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์เลียนแบบของเก่า ส่วนใหญ่ ผลิตจากจีน เวียดนาม กัมพูชา และไทย ตลาด รัสเซียเป็นตลาดที่ชาวต่างชาติชอบไปเดินดูสินค้า ของฝากแปลกๆ ซึ่งราคาค่อนข้างถูก

ตลาดซาทะไม หรือ Central Market ตั้งอยู่ ในกรุงพนมเปญ ที่ตลาดนี้มีสินค้าหลากหลายชนิด ราคาถูก สร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1937 สมัยที่ยังเป็น อาณานิคมของฝรั่งเศส เป็นตึกแบบอาร์ตเดโก ซึ่งมีเพดานสูงส่วนใหญ่ขายสินค้าประเภทเสื้อผ้า และเครื่องใช้ในครัวเรือน

 

เทศกาลสำคัญ : January 01: International วันขึ้นปีใหม่

January 07: ชัยชนะวันมากกว่าการทำลายชนชาติระบบการปกครอง

February 09 : Meak Bochea วัน - พระพุทธพระธรรมเทศนา

March 08 : วันสตรีสากล

14-16 เมษายน : ปีใหม่กัมพูชา

สามฉลองวันหลังจากสิ้นสุดการเก็บเกี่ยวเพื่อทำเครื่องหมายเปิดของปีใหม่ตามปฏิทินจันทรคติเขมร. บ้านทุกเห็นด้วยการตกแต่งที่น่าสนใจ. shrines เต็มของอาหารและเครื่องดื่มให้เป็นไหว้พระเจ้า .. คนอื่นเข้าวัดพุทธที่เกมเดิมยังมีประสิทธิภาพ.รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเขมร New Year.

อาจ 01: วันแรงงานระหว่างประเทศ

อาจ 08: Visaka Bochea วัน - วันเกิดของพระพุทธเจ้า 

พฤษภาคม 12: พิธี Royal Ploughing

เป็นวัฒนธรรมโด่งดังแจ้งชนของเริ่มของฤดูฝนและเกษตรกรจะพร้อมสำหรับการเพาะปลูกข้าวโดยเริ่มไถ. สถานที่เป็นสนามที่ปีกของ Royal Palace, พนมเปญ. ฉากน่าสนใจตาม depicts กิจกรรม ploughing จริงที่ cows จะมีความหลากหลายของพืชกิน. ตามทางเลือกของพืชกินโดย cows, ทำนายจะทำให้ปีมา.

13-15 พฤษภาคม : วันเกิดของพระ Sihamony

ระหว่างวันเกิดของพระแสดงดอกไม้เพลิงยักษ์จะจัดขึ้นใกล้ riverbanks หน้าพระบรมมหาราชวัง.

มิถุนายน 18 : พระวันเกิดของพระบาทสมเด็จพระนโรดมแม่ Monineath Sihanouk

กันยายน 24 : วันรัฐธรรมนูญ

18-20 กันยายน : Pchum Ben วัน - โซลวัน

เทศกาลทางศาสนาเพื่อให้ศีลให้พรวิญญาณของปู่ตา, ญาติและเพื่อนเหมือนกันที่ได้ล่วงลับไป. สมาชิกในครัวเรือนเข้าวัดพุทธ.

ตุลาคม 29 : พระฉัตรมงคลของสมเด็จ Sihamoni

ตุลาคม 31 : Sihanouk วันเกิดของพระบิดานโรดม

พฤศจิกายน 09 : วันประกาศอิสรภาพ

 01-03 พฤศจิกายน : Water Festival

ไม่เพียงแต่มันเครื่องหมายการไหลย้อนกลับของมากมายในอดีต SAP แม่น้ำแต่ยัง ushers ในฤดูประมง. เน้นของเหตุการณ์คือการแข่งเรือกว่าสามวัน. เป็นคืนต่ำ, พลุไฟฟ้าและกองเรือเล็กลงเรือใบตามเดือนเต็มผู้ worships ครัวเรือน. นักวิเคราะห์บางคนกล่าวฉลองยังขอบใจที่แม่น้ำโขงเพื่อให้ประเทศมีที่ดินอุดม. ผู้คนจากทุกเดินชีวิตรวมในธนาคารของแม่น้ำโขงวันและคืน.

December 02 : อังกอร์ครึ่งมาราธอน

มาราธอนครึ่ง International. จัดขึ้นที่มีชื่อเสียงของโลกนครวัดกิจกรรมที่ดึงดูดคู่แข่งจากทั่วโลก. มีหลายพันชมและแปลกใจนครวัดจะถูกตั้งค่างดงาม.

ธันวาคม 10 : International Human Right วัน

กลางเดือน ธันวาคม : เทศกาลอังกอร์

เทศกาลนี้จะแสดงในศิลปะการแสดงกับนครวัดเป็นฉากหลัง. ศิลปินจากทั่วเอเชียเข้าร่วมเทศกาลประสิทธิภาพเรื่องราวมหากาพย์อันยิ่งใหญ่จากเหลือเชื่อและ Legends รวมถึงรามเกียรติ์ให้กับตัวเองชาติเต้นรำเครื่องแต่งกายและดนตรีและจังหวะนี้แปล. อดีต King Sihanouk มักจะเข้าเมื่อเขาอยู่ในถิ่นที่อยู่ในเสียมเรียบและ dignitaries อื่นๆมา พยานนี้ปรากฏการณ์มหัศจรรย์.

 

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ : ปราสาทพะโค (prasat preah ko) สร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 15 รัชสมัยของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 ปราสาทพระโค สร้างด้วยอิฐทั้ง 6 หลัง แบ่งเป็น 2 แถวแถวละ 3 หลัง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน และกรอบประตูและกรอบหน้าต่างสร้างด้วยหินทราย ปรางค์ประธานอยู่ตรงกลางของแถวหน้า มีจารึกภาษาขอมโบราณที่กล่าวถึงประวัติการสร้างปราสาทแห่งนี้ และมีบันทึกไว้ ปราสาทองค์กลาง (ด้านหน้า) สร้างถวายแด่พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ผู้เป็นปู่ ปราสาทองค์กลาง(ด้านหลัง) สร้างถวายแด่พระมเหสีของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ปราสาทองค์ซ้าย(ด้านหน้า) สร้างถวายพระราชบิดาของพระองค์คือปิทวีณทรวรมัน ปราสาทองค์ซ้าย(ด้านหลัง) สร้างถวายพระราชมารดา ส่วนปราสาททางขวามืออีก 2 หลังสันนิฐานว่าคงจะสร้างให้ญาติ และมีการบันทึกไว้อีกว่าสร้างอุทิศถวายแด่พระปรเมธวระ หรือพระเจ้าสูงสุดอีกพระนามของพระศิวะ นั้นเอง

นครวัด (angkor wat) เป็นศาสนสถานตั้งอยู่ในเมืองพระนคร จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยเป็นศาสนสถานประจำพระนครของพระองค์ ตัวเทวสถานได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี จนเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญเพียงแห่งเดียวที่ยังเหลือรอดมาจนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่ก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่เดิมนครวัดเป็นเทวสถานของศาสนาฮินดู ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระวิษณุ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นศาสนาพุทธ นครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ตัวเทวสถานถือเป็นที่สุดของสถาปัตยกรรมเขมรสมัยคลาสสิกรุ่งเรือง และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา โดยปรากฏในธงชาติ และเป็นจุดท่องเที่ยวหลักของประเทศ ตลอดจนได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองพระนคร ปราสาทนครวัดได้เริ่มสร้างในกลางพุทธศตวรรษที่ 17 ในรัชสมัยของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เพื่อบูชาแด่พระวิษณุหรือ พระนารายณ์ ในปี พ.ศ. 1720 ชาวจามได้บุกรุกขอม ทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ต้องย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองนครหลวง หรือ เสียมราฐ ในปัจจุบัน หลังจากนั้น พระองค์จึงสร้างเมืองนครธม และ ปราสาทบายน ห่างจากปราสาทนครวัดไปทางเหนือ เพื่อเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของชาวขอม ในปี ค.ศ. 1586 (พ.ศ. 2129) ได้มีนักบวชจากโปรตุเกส นามว่า อันโตนิโอ ดา มักดาเลนา เป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ได้ไปเยือนปราสาทนครวัด แต่ที่จะถือว่าเป็นการเปิดประตูให้แก่ปราสาทนครวัดนั้น คือการค้นพบของ อองรี มูโอต์ นักสะสมแมลงและนักสำรวจชาวฝรั่งเศส เมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้วมาปราสาทนครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างในยุคสิ้นสุดของราชอาณาจักรขะแมร์ โดยมีหินทรายเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก

นครธม (Angkor Thom) เป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายและเมืองที่เข้มแข็งที่สุดของอาณาจักรขะแมร์ สถาปนาขึ้นในปลายคริสต์ศวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 9 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางทิศเหนือของ นครวัด ภายในเมืองมีสิ่งก่อสร้างมากมายนับแต่สมัยแรกๆ และที่สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และรัชทายาท ใจกลางพระนครเป็นปราสาทหลักของพระเจ้าชัยวรมัน เรียกว่า ปราสาทบายน และมีพื้นที่สำคัญอื่นๆ รายล้อมพื้นที่ชัยภูมิถัดไปทางเหนือประตูทางเข้านครธมด้านใต้จุดเด่นที่สุดคือทางเข้าด้านใต้ ที่มีลักษณะเป็นหน้า 4 หน้า ก่อนจะเข้าสู่บริเวณนี้ จะเป็นแถวของยักษ์ (อสูร) ทางด้านขวา และเทวดาทางด้านซ้าย เรียงรายแบกพญานาคอยู่สองข้างสะพาน เมื่อเข้าสู่ใจกลางนครธมจะพบสิ่งก่อสร้างต่างๆ บริเวณประตูด้านใต้นี้ได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูไว้ได้ดีกว่าบริเวณอื่นๆ อีก 3 ด้าน

โตนเลสาบ (Tonle sap) เป็นทะเลสาบ(น้ำจืด)ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย...เป็นทะเลสาบที่เกิดจากลำน้ำโขง และแม่น้ำสายย่อยๆ่่ไหลมารวมกันจนเป็นทะเลน้ำจืดขนาดใหญ่ ไม่ต่างกับที่เรามองเห็นท้องทะเล ที่มีน้ำกับฟ้า แต่ี่โตนเลสาบจะเป็นทะเลสาบสีขุ่นเช่นเดียวกับแม่น้ำโขง ยามน้ำหลากจะมีอาณาบริเวณเป็นพื้นที่กว้างมาก สูงสุดถึง 16,000 ตารางกิโลเมตร (สถิติจาก unesco ปี '97) แต่ยามน้ำลดก็จะเหลือประมาณ 2700 ตารางกิโลเมตร (เกือบสองเท่าของพื้นที่ กทม) ส่วนลึกสุดประมาณ 10 เมตร... ปลาสด ปลากรอบ ปลาร้า เป็นอาชัพหลักของที่นี่ กล่าวกันว่าเป็นแหล่งอาหารน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก และสร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นอันดับ 2 รองจากการท่องเที่ยว ชาวประมงที่อาศัยอยู่ตามริมน้ำเป็นชาวเวียดนามอพยพในยุคสงครามเย็น หรือสงครามคอมมิวนิสต์ สมัยที่เวียดนามส่งทหารมาช่วยรบในเขมร โตนเลสาบเป็นแหล่งท่องเที่ยวของเมืองเสียมเรียบ อยู่ห่างจากตัวเมืองออกไปประมาณ 14 กม. ตามระยะทางที่ผ่านจะเห็นหมู่บ้านชาวประมงเป็นระยะๆ บางแห่งก็ตั้งเป็นย่านร้านอาหารเวียดนาม และยิ่งเข้าไปใกล้ทะเลสาบมากขึ้น ก็จะเห็นชุมชนของชาวประมงอยู่หนาแน่น ที่อยู่อาศัยก็สร้างกันแบบง่ายๆ สะดวกในการเคลื่อนย้ายตามฤดูน้ำหลากของแต่ละป๊ะ... จากระยะจากเสียมเรียบถึงท่าเรือ ยามน้ำลดจะมีระยะทาง 14 กม. แต่ยามน้ำหลากแล้วก็อาจเหลือเพียง 4 กิโลเมตรเท่านั้น มาเที่ยวโตนเลสาบก็ไม่ต่างกับไปเที่ยวตามชนบทของเวียดนาม วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ยังดูย้อนยุค ไม่ต่างกับชนบทไทยในอดีต

เขาพนมบาเค็ง (phnom bakheng) เป็นเทวสถานที่สร้างตามลัทธิไศวนิกาย เมื่อราว พ.ศ. 1450 ตั้งอยู่บนเขาลูกเล็กที่มีความสูงประมาณ 70 เมตร มีชื่อเรียกดั้งเดิมว่า ปราสาทยโศธระปุระคือใช้ชื่อของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ต่อมาเรียกว่า พนมบาเค็งตามลักษณะของต้นบาเค็งที่มีอยู่มากในบริเวณภูเขานี้ เขาพนมบาเค็งหรือวนัมกันตาล เป็นภูเขาใจกลางเมืองยโสธรปุระซึ่งเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ และเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ตัวปราสาทพนมบาเค็งจำลองลักษณะมาจากปราสาทบากอง มีสถาปัตยกรรมคล้ายกัน รูปทรงแบบปิรามิด ที่ตัวระเบียงแต่ละชั้นมีปราสาทเล็กๆ 4 มุม ภายในปรางค์ประธานมีศิวลึงค์ตั้งอยู่ตั้งแต่ พ.ศ.1450 ในปีที่เริ่มสร้างปราสาท ในขณะที่การก่อสร้างยังคงดำเนินต่อไปจาก พ.ศ. 1450-1471 นานถึง 21 ปี หลังจากนั้นอีก 40 ปีในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ได้มีการบูรณะซ่อมแซมปราสาทนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก พระพุทธรูปที่เห็นในปรางค์ประธานนั้น มีการอัญเชิญพระพุทธรูปขนาดใหญ่ขึ้นไปประดิษฐานบนแท่นหินทรายแทนศิวลึงค์เมื่อ พ.ศ. 2059 และจุดเด่นจุดหนึ่งที่น่าสนใจของเขาพนมบาเค็งนี้คือ เป็นจุดชมวิวที่สวยงามซึ่งสามารถเห็นปราสาทนครวัด และบรรยากาศยามเย็นที่มีพระอาทิตย์ตกเป็นภาพที่สวยงามที่นักท่องเที่ยวนิยมกันเป็นอย่างมาก

ปราสาทบันทายศรี (Banteay Srei) เป็นปราสาทหินที่ถือได้ว่างดงามที่สุดในประเทศกัมพูชา มีความกลมกลืนอย่างสมบูรณ์ และเป็นปราสาทแห่งเดียวที่สร้างเสร็จแล้วกว่า 1000 ปี แต่ลวดลายก็ยังมีความคมชัด เหมือนกับสร้างเสร็จใหม่ ๆ ปราสาทบันทายศรีหรือเรียกตามสำเนียงเขมรว่า บันเตียไสร หมายถึง ปราสาทสตรีหรือป้อมสตรี อยู่ห่างจากตัวเมืองเสียมเรียบไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 30 กิโลเมตร ใกล้กับแม่น้ำเสียมเรียบในบริเวณที่เรียกว่า อิศวรปุระ หรือเมืองของพระอิศวร

ปราสาทตาพรหม (Prasat Ta Prohm) เป็นปราสาทที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สร้างถวายให้กับ พระมารดา เชื่อกันว่า ปราสาทตาพรหมนั้นเป็นอารามหลวงในยุคนั้นด้วยส่วนคำว่า ตาพรหม นั้นน่าจะมาจากชื่อของผู้เฝ้าปราสาท ในช่วงที่คณะสำรวจ ชาวฝรั่งเศสเข้ามาถึงตัวปราสาทนี้จุดเด่นสำคัญของปราสาทตาพรหม คือรากไม้ของต้นสะปง(ไทยเรียกสมพงษ์)ซึ่งขึ้นครอบคลุมปราสาททั่วบริเวณ บางต้นมีอายุถึง 300 ปี จนได้รับการคัดเลือกเป็น ฉากสำคัญของภาพยนตร์เรื่อง Tumb Raider นอกจากนี้แล้ว ยังมีภาพสลักรูป เสต๊กโกซอร์ส ซึ่งเป็นไดโนเสาร์ชนิดหนึ่งภายในปราสาทตาพรหมอีกด้วย

วัดใหม่หรือวัดทไม (ta-mai temple) เป็นที่รวบรวมหัวกระโหลกของชาวเขมร และเรื่องราวที่เกิดขึ้นในยุคเขมรแดงที่พลพต ผู้นำเขมรแดงปกครอง

เสียมราฐ (Siem Reap) หรือชื่อท้องถิ่นว่าเสียมเรียบเป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ อยู่ริมฝั่งทะเลสาบเขมร ห่างจากกรุงพนมเปญ 314 กิโลเมตร โดยใช้เวลาเดินทางด้วยรถยนต์ประมาณ 5 ชั่วโมงคำว่า "เสียมเรียบ" ในภาษาเขมรนั้น หมายความว่า "สยามราบ" คือ สยามแพ้ ส่วน "เสียมราฐ" ในภาษาไทยนั้น หมายถึง "ดินแดนของสยาม" เป็นที่เข้าใจว่า ชื่อ "เสียมเรียบ" ตั้งขึ้นใหม่แทน "เสียมราฐ" หลังจากที่ใน กรณีพิพาทอินโดจีน พันตรีแปลก พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการกองทัพอีสานและบูรพาในขณะนั้น ได้เคยบุกข้ามชายเดนขับไล่ฝรั่งเศสออกจากดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง พระตะบอง และเสียมราฐ แต่แพ้ปัจจุบันนี้ จังหวัดเสียมราฐเป็นที่รู้จักดีในฐานะเป็นที่ตั้งของนครวัด และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวโดดเด่นอีก อาทิ หมู่ปราสาทหินจากอาณาจักรขอม ได้แก่ ปราสาทนครวัด, กลุ่มปราสาทนครธม, (ตาพรหม และบายน, บันทายศรี, บากอง, โลเลย, พนมบาเค็ง, พนมกุเลน และ บารายตะวันตก

องค์เจ็กกับองค์จอม เป็นพี่น้องกัน และมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างมาก วันหนึ่งหลังจากไปทำบุญกลับไปก็นอนหลับไม่ตื่นขึ้นมาอีก บิดามารดามีความเสียใจและอาลัยกับลูกสาวทั้งสองคนอย่างมาก จึงได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นมาสององค์ องค์ใหญ่นามว่าองค์เจ็ก องค์เล็กเป็นน้องนามว่าองค์จอม เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของเมืองเสียมราฐ ประชาชนที่นี่ให้ความเคารพนับถืออย่างมาก

ตลาดซาจ๊ะ (psar chaa) แหล่งซ้อปปิ้งของนักท่องเที่ยว ที่นี่เป็นตลาดเก่าแก่ ที่มีอาคารร้านค้าที่สร้างในยุคฝรั่งเศสปกครอง รูปทรงทางสถาปัตย์จึงออกไปแนวยุโรป ในตลาดซาจ๊ะ จะขายที่ระลึกที่เป็นสินค้าพื้นเมืองของเขมร ด้านหน้าตลาดจะเป็นผลิตภัณฑ์ของแห้งจากทะเสาบโตนเล ได้แก่ปลากรอบ หรือปลาย่าง ปลาช่อนแดดเดียว กุนเชียง และปลาที่อยู่ในโถ เช่นปลาร้า ปลาหมักชนิดต่างแบบเขมร  ลึกเข้าไปในตลาดจะเป็นตลาดสด ขายพวกพืชผักและผลไม้ต่างๆ บางอย่างก็นำเข้าจากไทย ส่วนอีกซีกหนึ่งจะเป็นตลาดปลาสดๆที่มาจากทะเสาบโตนเล มีปลาหลากหลายชนิดมาก เด่นๆก็มีปลาเนื้ออ่อน ปลาดุก ปลากด ปลาเทโพ ปลาสวาย ช่วงเย็นๆบริเวณหน้าตลาดจะคึกคักไปด้วยคนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว เป็นเวลาที่นักท่องเที่ยวมาเจอกันโดยมิได้นัดหมายบรรยากาศที่น่ามาสัมผัส หากมีเวลาก็น่าจะใช้บริการรถสามล้อของเขมรพาเที่ยวรอบเมืองเสียมเรียบในราคาไม่แพงนัก นักรถสามล้อเขมรแล้วอาจติดใจ จนบอกว่าดีกว่าสามล้อตุ๊กๆในบ้านเรา ไม่ต้องมานั่งทนดมกลิ่นแก็สจากท่อไอเสีย เพราะสามล้อที่นี่ใช้มอเตอร์ไซด็เป็นพาหนะลากไป

โตนสแลง(Tuol Sleng)vหรือ s-21 (Security Office 21) เป็นสถานที่กักขังนักโทษผู้บริสุทธิ์ในยุคสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของเขมรแดง เดิมเป็นโรงเรียนเก่าแต่ถูกยึดใช้เป็นสถานที่บัญชาการโดยผู้นำ พอลพต ซึ่งคุกแห่งนี้เป็นตัวอาคารใหญ่ 2 หลัง ล้อมรอบด้วยลวดหนามไฟฟ้ากันการหลบหนี ด้านซ้ายมือและด้านหน้าเป็นที่คุมขังนักโทษและที่สอบสวน ส่วนอาคารหลังเล็กด้านขวาเป็นที่พักพนักงานสอบสวน ปัจจุบันเป็นที่ทำการพิพิธภัณฑ์ แสดงร่องรอยที่เหลือจากอดีต เช่น เครื่องมือทำทรมานนักโทษ ภาพถ่ายของนักโทษก่อนถูกประหารชีวิต หัวกะโหลกมนุษย์ คราบเลือดที่ยังหลงเหลือ

ปราสาทบายน (Prasat Bayon) สร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 18 รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นศิลปะแบบบายน ศาสนาพุทธนิกายมหายาน ปราสาทบายนเป็นปราสาทหลวงประจำรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และเป็นการปฏิวัติรูปแบบของการสร้างปราสาทที่มีภาพลักษณ์ต่างจากการสร้างรูปแบบเดิมๆ เป็นเพราะพระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งต่างจากกษัตริย์หลายพระองค์ที่ล้วนแล้วแต่นับถือศาสนาฮินดูหรือศาสนาพราหมณ์ที่สืบทอดมากกว่า 415 ปี ซึ่งลักษณะของ ปรางค์ปราสาทบายนทั้ง 54 ปรางค์นั้น จะถูกสลักเป็นภาพพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ผันพระพักตร์ออกไปทั้งสี่ทิศ เพื่อสอดส่องดูแลความทุกข์สุขของเหล่าพสกนิกรของพระองค์ให้อยู่เย็นเป็นสุข รอยยิ้มที่นี้เรียกว่ายิ้มแบบบายนเปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณา ใบหน้าเหล่านั้นหากนับรวมกัน 54 ปรางค์ปราสาทปรางค์ปราสาทละ 4 หน้า จะมีรวมถึง 216 หน้า แต่ปัจจุบันได้สึกกร่อนพังทลายลงไปหลายหน้าแล้ว ซึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่แตกต่างไปตากปราสาทเขมรอื่นๆทำให้เป็นจุดเด่นที่นักท่องเที่ยวจะต้องมาสัมผัสเมือได้มาเยือนประเทษกัมพูชา

ปราสาทบากอง (Bakong) เป็นปราสาทหินในกลุ่มปราสาทโลเลย นับเป็นปราสาทในยุคแรกๆ ของอาณาจักรขอม เป็นวัดประจำรัชกาลของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 บากองเป็นวัดบนเขาแห่งแรกๆที่สำคัญลักษณะทางสถาปัตยกรรม มีโครงสร้างหลักเป็นศิลาแลง และตกแต่งด้วยหินทราย ยอดทรงปิรามิด 5 ชั้น จำลองรูปเขาพระสุเมรุ เพื่อสักการะพระศิวะ มีขนาดกว้างราว 700 ม. ยาว 900 ม. ล้อมด้วยคูชั้นนอกลึก 3 ม. ล้อมพื้นที่ราว 15 เฮกเตอร์ และคูชั้นใน ขนาดกว้าง 300 ม. ยาว 400 ม. ซึ่งปัจจุบันตื้นเขิน คงเหลือเพียงขั้นบันได ศูนย์กลางของปราสาทเป็นปิรามิด ขนาด 120 ม. ยาว 160 ม.ประติมากรรมที่สำคัญในปราสาทนี้คือสิงโตที่เฝ้าบันไดทางขึ้น, ประติมากรรมช้าง ที่หันหน้าออกไปยังปราสาทแม่บุญตะวันออก, รูปสลักนูนต่ำรูปอสูร และรูปสลักเทวทัศลอยตัวที่มุม ปราสาทบากองเชื่อกันว่าเป็นเทวสถานที่สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระศิวะ พระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 ทรงสร้างเมื่อปี ค.ศ.881 ให้เป็นศูนย์กลางของเมืองหริหราลัย เมื่อหลวงของพระองค์  เช่นเดียวกับการสร้างปราสาทพนมบาเค็ง เป็นศูนย์กลางของเมืองพระนครของพระเจ้ายโศวรมัน  ซึ่งหมายความว่า สร้างเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของภูเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางของโลกและจักรวาล ที่ประทับของเทพเจ้า เป็นศิลปะเขมรแบบพะโค

พนมกุเลน (Phnom Kulen National Park) เป็นหนึ่งในยอดเขาที่สำคัญในประเทศกัมพูชา บนเทือกเขาพนมกุเลนยังเป็นต้นแม่น้ำไหลผ่านแผ่นทับหลังรูปสลักน้ำในลำธารนี้ชาวกัมพูชาเชื่อว่าเป็นแม่น้ำที่ศักดิ์สิทธิ ใช้ในการพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒสัจติยา และพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ของพระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดมสีหมุนีอีกด้วย ซึ่งคำว่าพนมในภาษากัมพูชานั้นหมายถึง ภูเขา  กุเลนหมายถึงต้นลิ้นจี่ ในอดีตพนมกุเลน เป็นที่ประทับของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 แต่ไม่มีหลักฐานปรากฎว่าพระองค์ทรงประทับที่พนมกุเลนนานเท่าไร และเมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ก็เสด็จกลับมาครองราชย์ที่หริหราลัย หลังจากนั้นมาอีก 300 ปี จึงมีการสร้างปราสาทนครวัดขึ้น ร่องรอยของปราสาทบนเขาพนมกุเลนจึงพบเป็นปราสาทหลังเล็กๆและมีสภาพทรุดโทรม มีเพียงแต่ศิวลึงค์ที่ถูกแกะสลักอยู่ใต้น้ำนับพันอันที่ยังคงสภาพดีอยู่ ซึ่งศิวลึงค์นับพันองค์ที่อยู่ใต้น้ำนั้น เป็นของศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย บูชาศิวลึงค์ว่าเป็นต้นกำเนิดของสรรพชีวิต ศิวลึงค์นั้นก็คืออวัยวะเพศชายแทนพระศิวะ และฐานโยนีที่ล้อมรอบศิวลึงค์ ก็คืออวัยวะเพศของเพศหญิง ซึ่งก็คือนางอุมาเทวีชายาของพระศิวะ และมีความเชื่อของชาวฮินดูที่ว่าตราบใดที่อวัยวะทั้งสองยังอยู่ด้วยกัน ตราบนั้นโลกจะอยู่เย็นเป็นสุข นอกจากนี้ชาวฮินดูยังมีความเชื่อว่าพนมกุเลนเป็นที่ตั้งของมเหนทรบรรพต มเหนคร หมายถึง พระศิวะ ส่วนบรรพตนั้นหมายถึง ภูเขา ความหมายของเมืองจึงเป็นที่อยู่ของพระศิวะ พนมกุเลนจึงเป็นนิมิตรรูปของเขาพระสุเมรุราชที่มี 109 ยอด ยอดสูงสุดคือยอดเขาไกรลาศ เป็นที่อยู่ของพระศิวะ และพระนางอุมาเทวี และพนมกุเลนยังเป็นสัญลักษณ์ของเขาหิมาลัย ที่มีแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ไหลลงมาจากธารสวรรค์

บารายตะวันตก (West Baray) เป็นสระน้ำโบราณขนาดใหญ่กรุด้วยศิลาถึงก้นสระ พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อพิธีกรรมและเพื่อการชลประทานกว่าพันปีหรือที่เรียกว่าแหล่งน้ำพันปี ซึ่งถือได้ว่าเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นเสมือนทะเลสาบน้ำจืด ที่สร้างขึ้นในอาณาจักรขอม อยู่ทางตะวันตกของนครธม มีขนาดกว้าง 2.2 กิโลเมตร ยาว 8 กิโลเมตร ลึกโดยเฉลี่ย 7 เมตร มีพื้นที่ 1,760 เฮกเตอร์ จุน้ำได้ราว 123 ล้านลูกบาศก์ลิตร ใจกลางของบาราย มีเกาะเล็กๆ ตั้งอยู่ เรียกว่า แม่บุญตะวันตกสร้างในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ซึ่งยังคงมีน้ำขังอยู่จนถึงทุกวันนี้ สามารถใช้เป็นแหล่งประมงน้ำจืด และพื้นที่พักผ่อนของชาวเสียมราฐ ต่างจากบารายตะวันออกที่ปัจจุบันตื้นเขินไปแล้ว

น้ำตกกบาลสะเปียน (kbalspean waterfall) หรือหัวสะพาน ถูกขนานนามจากแนวก้อนหินที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยมีลักษณะคล้ายสะพานทอดข้ามสายน้ำเล็กๆ ซึ่งมีต้นน้ำเกิดจากเทือกเขากุเลน ธารน้ำสายนี้แยกไหลเป็นสายย่อยเลาะรอบเมืองพระนครผ่านเรือกสวนไร่นาของประชาชนก่อนที่จะไหลรวมกับแม่น้ำเสียมเรียบ และไหลลงทะเลสาบในที่สุด ทั้งพนมกุเลนและกบาลสะเปียนแม้จะอยู่ห่างกันคนละที่ แต่ก็มีสองสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาภายใต้ผืนน้ำของท้องธารทั้งสอง ที่เหมือนกันคือรูปศิวะสลักหรือศิวลึงค์องค์ย่อมๆ ไปถึงขนาดใหญ่นับพันองค์ และรูปโยนีสลักอีกเป็นจำนวนมาก แผ่ขนานไปตามความยาวของลำธารตื้นๆ เป็นระยะทางเกือบหนึ่งกิโลเมตร เป็นที่น่าสังเกตว่าด้านหน้าของโยนีถูกสลักให้หันไปทางทิศเหนือเสมอ เพราะว่าแต่โบราณถือว่าเหนือเป็นทิศแห่งโชคลาภ และความสมบูรณ์พูนสุขจึงนิยมสลักโยนีสู่ทิศเหนือเสมอ กบาลสะเปียน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 ปลายพุทธศตวรรษที่ 16 โดยมีพระประสงค์เพื่อให้พราหมณ์ประกอบพิธีเสกน้ำให้ศักดิ์สิทธิ์เพื่อนำน้ำไปประกอบพิธีหลวงในพระราชวัง และเพื่อให้เหล่ามวลประชาราษฎร์นำไปบูชารักษาโรคภัยไข้เจ็บ นำไปใช้กับไร่นาของตนได้ เพื่อผลผลิตที่สมบูรณ์

ปราสาทโลเลย (lolei) สร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 15 (พ.ศ. 1436) รัชสมัยของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 เป็นศิลปะแบบพระโคและบาแค็ง ปราสาทโลเลย เป็นปราสาทที่อยู่ในกลุ่มเทวสถานเมืองหริหราลัย ซึ่งพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 โปรดให้สร้างขึ้นบริเวณกลางสระอินทรตฎากะ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระราชบิดา ลักษณะสถาปัตยกรรมของปราสาทโลเลย เป็นหอ 4 หอ ที่ไม่สมมาตร คือจะให้สำคัญหอ 2 หอด้านตะวันออกกว่า หอด้านตะวันออกเฉียงเหนือค่อนข้างทรุดโทรม ในขณะที่หอด้านตะวันออกเฉียงใต้ได้พังลงเมื่อปี พ.ศ. 2511 โครงสร้างหลักเป็นหินทราย ตกแต่งด้วยอิฐที่ยาด้วยปูน ซึ่งภายหลังแม้จะหลุดล่อนไปตามกาลเวลาแต่ก็ยังพอมีหลงเหลืออยู่บ้าง ส่วนทับหลังแกะสลักหินทรายนั้นยังมีหลายชิ้นที่คงสภาพดีจนถึงทุกวันนี้

Visitors: 812,979