ทัวร์จีน

ท่องเที่ยวประเทศจีน

 

ประเทศจีน : ประเทศจีนมีชายแดนติดกับประเทศอื่นถึง 22,800 กิโลเมตร มีชายแดน ติดกับประเทศต่าง ๆ ดังนี้

  •    ทิศตะวันออก: ติดประเทศเกาหลี
  •    ทิศเหนือ: ติดประเทศมองโกลเลีย
  •    ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ: ติดประเทศรัสเซีย
  •    ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ: ติดประเทศคาซัสสถาน Kazakhstan, เคอ- กิสสถาน Kyrgyzstan และท่าจิคิสสถาน Tajikistan
  •    ทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้: ติดประเทศอินเดีย อัฟกานิสสถานเนปาล ภูฐาน และปกกีสถาน
  •    ทิศใต้: ติดประเทศพม่า ลาว และเวียดนาม
  •    ชายฝั่งทะเลตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้: ติดประเทศเกาหลีญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ บรูไน มาเลเซีย และอินโดเนียเซีย

 

สภาพภูมิอากาศ : สภาพอากาศของประเทศจีนส่วนใหญ่ยึดตามสภาพอากาศในเขตภาคเหนือที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม โดยในเดือนกันยายนและตุลาคมไปจนถึงเดือนมีนาคมและเมษายนของปีถัดไป จะได้รับลมมรสุมจากที่ไซบีเรียและที่ราบสูงมองโกเลียพัดเข้าสู่ประเทศจีน ทำให้เอากาศแห้งและหนาวเย็น และทำให้อุณหภูมิแตกต่างกันถึง 40 องศาเซลเซียสระหว่างทางเหนือกับทางใต้ของประเทศ อุณหภูมิในฤดูหนาวจะอยู่ที่ระหว่าง 5-18 องศาเซลเซียสซึ่งหนาวกว่าประเทศอื่น ๆ ที่อยู่ในเส้นละติจุดเดียวกัน ในฤดูร้อนนั้น ลมมรสุมพัดจากมหาสมุทรเข้าสู่แผ่นดินจึงนำเอาความอบอุ่นและความชุ่มชื้นซึ่ง ก่อให้เกิดฝนตกภูมิอากาศของประเทศจีนในแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกันอย่างมาก อย่างทางเหนือของไฮหลงเจียง ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจะไม่มีฤดูร้อน ที่เกาะไห่หนาน 海南หรือไหหลำทางใต้มีฤดูร้อนอันยาวนานแต่ไม่มีฤดูหนาว  ที่ลุ่มน้ำฮว่ายเหอมีครอบสี่ฤดูทางตะวันตกของประเทศแถบที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต มีหิมะปกคลุมทั้งปี ทางตอนใต้แถบที่ราบสูงหยุนหนานกุ้ยโจวมีอากาศเย็นสบายเหมือนฤดูใบไม้ ผลิตลอดทั้งปีเช่นกัน ด้านปริมาณน้ำฝนต่อปีก็แตกต่างกันตามแต่ละภูมิภาคเช่นกัน เช่นปริมาณน้ำฝนต่อปีสูงถึง 1500 มม.ในแถบชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ และลดลงเหลือแค่ 50 มม.ในแผ่นดินตอนในในภาคตะวันตกเฉียงเหนือ

เวลา : เวลาในประเทศจีนจะเดินเร็วกว่าเวลาประเทศไทย 1 ชั่วโมง

 

ภาษา : ประเทศจีนใช้ภาษาจีนกลาง หรือ ผู่ทงฮว่า เป็นภาษาราชการ ชาวจีนในมณฑลต่างๆ มีภาษาท้องถิ่นที่แตกต่างกัน เช่น เสฉวน หูหนาน กวางตุ้ง ไหหลำ และฮกเกี้ยน สำหรับภาษาอังกฤษจะใช้กันตามโรงแรม และแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ

 

เงินตรา : เหรินหมินปี้ ใช้ตัวอักษรย่อว่า RMB) มีหน่วยเรียกเป็น "หยวน () " ภาษาพูดเรียกว่า ไคว่ () อัตราแลกเปลี่ยนปกติจะอยู่ที่ 1 หยวนประมาณ 5 บาท  (สามารถตรวจสอบอัตราแลกเปลี่ยนที่แน่นอนที่ธนาคารหรือจุดรับแลกเงิน)

 

ระบบไฟฟ้า : จีนใช้ระบบกระแสไฟแบบ AC 220 V, 50 Hz. อาคารส่วนใหญ่ในประเทศใช้ปลั๊กไฟแบบมาตรฐาน แต่ก็ยังมีบางที่ที่ยังใช้ปลั๊กแบบสามตาอยู่ ดังนั้น หากท่านต้องการนำอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าจากเมืองไทยไปใช้ด้วย กรุณานำตัวแปลงหรือปลั๊กแบบใช้ได้ทั่วโลกติดตัวไปด้วย หรือจะไปขอยืมจากโรงแรมที่พักของท่านก็ได้ค่ะ โดยจะมีให้บริการตามโรงแรมในจีนบางแห่งค่ะ

 

ฟิลม์และกล้องถ่ายรูป : ควรเตรียมไปให้เพียงพอโดยเฉพาะฟิล์มเพราะที่ต่างประเทศราคาจะสูงมากโดยเฉพาะ ตามสถานที่ท่องเที่ยว และควรเตรียมถ่านใส่กล้องถ่ายรูปไปด้วยเพราะอากาศเย็นถ่านจะเสื่อมสภาพเร็ว

 

การใช้โทรศัพท์ : โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถใช้ได้โดยท่านต้องขอเปิดใช้บริการ IR INTERNATIONALROAMING กับระบบโทรศัพท์ของท่าน ก่อนเดินทาง เพื่อความสะดวกควรใช้บัตรโทรศัพท์ที่มีขายในโรงแรม และร้านค้าทั่วไป โดยหมุน 001-66-2 (2-กรุงเทพฯ / 38-ชลบุรี / 53-เชียงใหม่) ตามด้วยเบอร์โทรศัพท์บ้าน เบอร์มือถือ 001-66-1 (หมายเลขนำหน้าของโทรศัพท์มือถือ) ตามด้วยเบอร์โทรศัพท์มือถือ

 

การให้ทริป : การให้ทิปในต่างประเทศ ถือเป็นเรื่องสำคัญ และมารยาทของนักท่องเที่ยวควรให้ทิปสำหรับคนที่ให้บริการท่าน อาทิคนขับรถ / ไกด์ท้องถิ่น ที่คอยอำนวยความสะดวกให้แก่ท่านระหว่างการเดินทาง

 

อาหารการกิน : อาหารจีนต้นตำรับที่พลาดไม่ได้ เมื่อเดินทางไปเยือนเมืองจีน ก็คือ อาหารเสฉวน เอกลักษณ์อยู่ตรงที่รสเผ็ดและชา รสชาติสด หอม ชุ่มคอ และอร่อย อาหารจานเด็ดของเสฉวน ได้แก่ "หมาผัวโต้วฝู่" หรือ ผัดเต้าหู้เนื้อสับ อาหารหูหนาน หรือ เซียงไช่ ก็เป็นอาหารขึ้นชื่ออีกประเภท มีจุดเด่นอยู่ที่รสเปรี้ยว และเผ็ด นอกจากนี้ เกี๊ยวต้มจีน หรือ เจี่ยวจือ ถือเป็นอาหารท้องถิ่นที่ชาวจีนนิยม รับประทานกันมากค่ะ ท่านที่ไปเที่ยวเมืองจีน อย่าพลาดการลิ้มลองอาหารเลื่องชื่อ เหล่านี้ได้ จากร้านอาหาร และ ภัตตาคารต่างๆของโรงแรมในจีนกันนะคะ ทั้งนี้ อาหารในเมืองจีนส่วนใหญ่รสชาติค่อนข้างจืด สำหรับท่านที่ชอบทาน อาหารรสจัด สามารถนำเครื่องปรุงติดตัวไปรับประทานเองได้นะคะ เช่น น้ำพริก หรือซอสปรุงรสต่างๆ ค่ะ

 

รายการช้อปปิ้ง : สินค้าแบรนด์เนม เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า นาฬิกา และอื่น ๆ มากมาย

 

เทศกาลสำคัญ : วันไหว้พระจันทร์ : กล่าวกันว่าในคืนวันไหว้พระจันทร์ ดวงจันทร์จะสุกสว่างและมองเห็นเป็นดวงกลมที่สุดในรอบปี ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนแปดของจีน

-          วันสารทจีน : วันสารทจีน ลูกหลานจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษโดยพิธีเซ่นไหว้ โดยหญิงที่แต่งงานแล้วไม่สามารถที่จะกลับมาไหว้บรรพบุรุษของตนเองนอกเสียจากมีพ่อหรือแม่ของตนเสียชีวิตไปแล้วจึงสามารถกลับมาบ้านตนเองเพื่อกราบไหว้ได้ แต่หากพ่อหรือแม่ของฝ่ายหญิงที่แต่งงานแล้วยังไม่เสียชีวิต ฝ่ายหญิงก็ต้องไหว้บรรพบุรุษของบ้านสามีนั้นเอง

-          เทศกาลชีซี : วันแห่งความรักของประเทศจีน เทศกาลชีซียังรู้จักกันในนาม เทศกาลหนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอผ้าหรือที่ญี่ปุ่นเรียก เทศกาลทานาบาตะอีกด้วย

-          เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง : เทศกาล "บ๊ะจ่าง" หรือ หรือเทศกาลไหว้ "ขนมจ้าง" เป็นเทศกาลของชาวจีน ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามของปฏิทินจีน เรียกชื่อตามตำราว่า "โหงวเหว่ยโจ่ย" บ๊ะจ่าง

-          เชงเม้ง : ประเพณีที่สำคัญมากที่สุดของของชาวจีน คือ ไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน (ฮวงซุ้ย) เป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยมีอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อ ที่เน้นเรื่องความกตัญญูเป็นสำคัญ

-          วันตรุษจีน : ตรุษจีนเป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของจีน เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฎิทินจีน เช่นเดียวกับสงกรานต์วันปีใหม่ไทย ทุกคนต่างให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่างหยุดงาน โรงเรียนสถาบันการศึกษาต่างปิดเทอมในช่วงนี้ เป็นปิดเรียนฤดูหนาว ยกเว้นคนที่ต้องทำหน้าที่ไม่สามารถหยุดงานได้ หน่วยงานห้างร้านต่างก็หยุดงาน 3-4 วัน เมื่อใกล้วันปีใหม่จีน ผู้คนต่างก็มีการตระเตรียมงานปีใหม่

-          วันชาติจีน : ก่อนที่จะมีการกำหนดวันดังกล่าวให้เป็นวันชาติจีนใหม่ ทางคณะรัฐบาลยุคนั้นซึ่งนำโดยประธานาธิบดีเหมาเจ๋อตง      (毛泽东)ได้เตรียมการหลายอย่างเพื่อการนี้ จึงเป็นที่มาของสัญลักษณ์ธงประจำชาติ พิธีการชักธงขึ้นสู่ยอดเสาที่ตั้งตระหง่านอยู่บริเวณหน้าจัตุรัสเทียนอันเหมิน (天安门广场)ตลอดจนเพลงชาติและพิธีกรรมต่างๆ ที่ผู้นำจีนใหม่ทุกยุคทุกสมัยล้วนปฏิบัติสืบต่อกันเป็นธรรมเนียม

 

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ : กำแพงเมืองจีน (ปักกิ่ง)

กำแพงเมืองจีนสร้างเมื่อกว่า 2,500 ปีมาแล้ว ตั้งแต่ก่อนสมัยของจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิองค์แรกในประวัติศาสตร์จีน จุดประสงค์ก็เพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าทางตอนเหนือ โดยมีการก่อสร้างเพิ่มเติมโดยฮ่องเต้องค์ต่อมาอีกหลายพระองค์ จนสำเร็จในที่สุด กำแพงเมืองจีนถือเป็นงานก่อสร้างที่มหัศจรรย์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเท่าที่เคยมีมา

มีข้อเท็จจริงบางประการเกี่ยวกับกำแพงเมืองจีนดังนี้

1. เราไม่สามารถมองเห็นกำแพงเมืองจีนจากดวงจันทร์ ไม่มีสิ่งก่อสร้างที่สร้างโดยมนุษย์ แต่อย่างเดียวที่สามารถมองเห็นจากดวงจันทร์ ในระดับ low earth orbit เราสามารถมองเห็นกำแพงเมืองจีนโดยใช้ radar การมองเห็นกำแพงเมืองจีนเป็นไปได้ยากเนื่องจาก สีของกำแพงเมืองจีนจะกลืนไปกับสีของธรรมชาติ ก็คือสีของดิน หิน

2. กำแพงเมืองจีนไม่ใช่กำแพงยาวตลอด ความจริงแล้วกำแพงเมืองจีน ถูกสร้างขึ้นในหลายยุคหลายสมัยกินเวลานับพันปี โดยเป็นการเชื่อมต่อกำแพงแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน จนเป็นแนวทอดยาวหลายพันกิโลเมตร

3. กำแพงเมืองจีนเป็นเสมือนสุสานของผู้ก่อสร้าง มีการบันทึกไว้ว่า นักโทษจากสงครามและทาสกว่า 1 ล้านคนถูกใช้เป็นแรงงงานเพื่อก่อสร้างกำแพงเมืองจีน ซึ่งจำนวนมากเสียชีวิตลงเนื่องจากความเหน็ดเหนื่อย และความหิวโหย ซึ่งศพผู้เสียชีวิตก็จะถูกฝังอยู่ข้างใต้กำแพงนั่นเอง นานนับศตวรรษแล้ว ที่กำแพงเมืองจีนได้ชื่อว่าเป็นสุสานที่มีความยาวที่สุดในโลก เป็นที่กล่าวขานกันว่าทุกๆ หนึ่งฟุตของกำแพงเมืองจีนก็คือหนึ่งชีวิตของผู้ก่อสร้างกำแพง

4. ความยาวของกำแพงเมืองจีน จนถึงขณะนี้ยังไม่มีใครทราบความยาวที่แท้จริงของกำแพงเมืองจีน ในภาษาจีน จะเรียกกำแพงเมืองจีนว่า "กำแพงยาวหมื่นลี้" (หนึ่งลี้มีความยาวประมาณ 1/3 ไมล์) โดยคร่าวๆ กำแพงเมืองจีนมีความยาวประมาณ 4 พันไมล์ หรือ 6,350 กิโลเมตร ทอดผ่านทุ่งหญ้า ทะเลทราย และเทือกเขาสูง ความสูงของกำแพงคือ 7 เมตร และกว้าง 5 เมตร

5. การก่อสร้างกำแพงเมืองจีน ช่วยป้องกันการรุกรานได้หรือไม่ การเข้าครองอำนาจของมองโกล และแมนจู ทั้งสองครั้งเกิดขึ้นจากความอ่อนแอ ของราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนในขณะนั้นๆ พวกเขาใช้โอกาสในขณะที่เกิดกบฏภายใน เข้ายึดครองประเทศจีน โดยมีการต่อต้านที่น้อยมาก

เปิดทำการ: พ.ศ. 338

ชั่วโมง: วันพฤหัสบดี (Mid-Autumn Festival)  7:3017:30

เวลาทำการอาจแตกต่างกันไป

วันศุกร์ (Mid-Autumn Festival (วันหยุดชดเชย))  7:3017:30

เวลาทำการอาจแตกต่างกันไป

  • วันเสาร์              7:3017:30
  • วันอาทิตย์          7:3017:30
  • วันจันทร์            7:3017:30
  • วันอังคาร           7:3017:30
  • วันพุธ                7:3017:30

 

วัดพระเขี้ยวแก้ว (ปักกิ่ง)

            ผู้เขียนได้ค้นคว้าหาประวัติตามเอกสารบันทึกของ นายถัง เป่ากั๋ว ที่พิมพ์แจกในคราว ที่อัญเชิญพระเขี้ยวแก้วมาประดิษฐาน ณ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ และในหนังสือที่ นายเดา ชูเรน รองประธานและเลขาธิการใหญ่ พุทธสมาคมแห่งประเทศจีน ได้เล่าไว้พอจะสรุปได้ดังนี้ว่า  พระเขี้ยวแก้วที่อยู่ในเมืองจีน ประชา ชนชาวจีนมักเรียกว่า พระทันตธาตุฟาเหียนเพราะ หลวงจีนฟาเหียน ได้อัญเชิญพระทันตธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) องค์นี้มาสู่จีน มีผู้กล่าวว่า พระทันตธาตุองค์นี้ได้ประดิษฐานครั้งแรกไว้ ที่อาณาจักรโบราณแห่งหนึ่ง ชื่อว่า อูไดยานา ปัจจุบันอยู่ในเขตของประเทศปากีสถาน หลังจากอาณาจักรนี้แล้วก็เคลื่อนย้าย มาอยู่ในแคว้น โคตัน (ทุกวันนี้คือ จังหวัด ไฮเตียน มณฑลซินเกียง) ต่อมาคริสต์ศตวรรษ ที่ ๕ หลวงจีนฟาเหียน ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังในสมัย ราชวงศ์จี๋ (Qi) ซึ่งอยู่ภาคใต้ของประเทศ จีน ได้เดินทางไปเอาพระทันตธาตุจาก เมืองโคตัน มาไว้ที่ เมืองนานกิง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์จี๋ (ท่านได้ออกเดินทางจาริกไปยัง ประเทศอินเดียและลังกา พ.ศ. ๙๔๒ - ๙๕๗)

 

จตุรัสเทียนอันเหมิน (ปักกิ่ง)

จัตุรัสเทียนอันเหมินมีความสำคัญในวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่เป็นสัญญลักขณ์เพราะว่าจัตุรัสเทียนอันเหมินคือที่ตั้งของเหตุการณ์สำคัญมากมายในประวัติศาสตร์จีน จัตุรัสเทียนอันเหมินเป็นจัตุรัสที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก  ประตูเทียนอัน หรือเทียนอันเหมิน เดิมทีเป็นประตูหน้าของพระราชวังสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1417 มีชื่อเดิมว่า "เฉิงเทียนเหมิน" หลังซ่อมแซมใหม่ในสมัยจักรพรรดิซุ่นจื้อแห่งราชวงศ์ชิง ในปี ค.ศ. 1651 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นเทียนอานเหมิน จากประตูนี้ เราสามารถเดินทะลุเข้าวังโบราณได้ ลักษณะของประตูวังเก่าแห่งนี้ เป็นกำแพงใหญ่ ชั้นบนสร้างเป็นเก๋งหลังคาสีเหลือง มีเสากลมสีแดง 10 ต้น เพื่อให้เกิดเป็นช่วงระหว่างเสา 9 ช่อง ตามตัวเลขทรงโปรดของจักรพรรดิ ชั้นล่างเป็นช่องประตูทรงเกือกม้า 5 ช่อง มีภาพเหมือนสีน้ำมันขนาดใหญ่ของประธานเหมา เจ๋อ ตุง ติดตั้งเหนือประตูกลางสองข้างของภาพนี้ มีคำขวัญเขียนว่า "ประชาชนจีนจงเจริญ" และ "ประชากรโลกจงเจริญ" เป็นคำพูดของ ท่านเหมา เมื่อครั้งกล่าวคำปราศรัยบนพลับพลาเทียนอันเหมิน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมค.ศ. 1949 ซึ่งเป็นวันสถาปนาประเทศจีนใหม่หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า "สาธารณรัฐประชาชนจีน" และได้ถือเอาวันที่ 1 ตุลาคม เป็นวันชาติตลอดมาจวบจนปัจจุบันบริเวณหน้าเทียนอันเหมิน มีสะพานหินที่แกะสลักลวดลายสวยงามเรียงขนานกัน 5 สะพานด้วยกัน มีสิงโตหินขนานใหญ่ ยืนเป็นยามรักษาประตูอีก 1 คู่ สำหรับสิงโตคู่ที่วางประดับหน้าตำหนักและอาคารบ้านเรือนทั่วไป จะมีตำแหน่งการจัดวางที่ตายตัว โดยตัวผู้จะถูกวางทางซ้าย ตัวเมียอยู่ทางด้านขวาเสมอ จัตุรัสเทียนอันเหมินล้อมรอบด้วยสถาปัตยกรรมที่มีความสำคัญ ได้แก่ หอประตูเทียนอันเหมินที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของจัตุรัส ธงแดงดาว 5 ดวงผืนใหญ่โบกสะบัดอยู่เหนือเสาธงกลางจัตุรัส อนุสาวรีย์วีรชนใจกลางจัตุรัส มหาศาลาประชาคมด้านทิศตะวันตกของจัตุรัส ตลอดจน พิพิธภัณฑ์การปฏิวัติแห่งชาติและพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ชาติจีนทางฝั่งตะวันออก นอกจากนี้ทางด้านทิศใต้ยังมี หอรำลึกท่านประธานเหมาและหอประตูเจิ้งหยางเหมิน หรือเฉียนเหมิน  ปัจจุบัน มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวจีนและชาวต่างชาติมากกว่าพันๆคนมาเยี่ยมชมจัตุรัสเทียนอันเหมินและอาคารสถาปัตยกรรมบริเวณจัตุรัสแห่งนี้ทุกวัน โดยเฉพาะการชมพิธีอัญเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาและลงจากยอดเสาของกองทหารในเวลาเช้าและเย็น

 

พระราชวังกู้กง (ปักกิ่ง)

การก่อสร้างพระราชวังต้องห้ามใช้เวลา 14 ปี โดยสร้างอยู่บนพื้นฐานพระราชวังเมือง "ต้าตู" ของราชวงศ์หยวนเมื่อรัชสมัยพระเจ้า "หย่งเล่อ" เป็นที่รวบรวมสติปัญญาและความสามารถของประชาชนจีนในสมัยเมื่อหลายร้อยปีก่อน ตอนก่อสร้างใช้คนงาน 1 ล้านคนและช่าง 1 แสนคน เนื่องจากเงื่อนไขการผลิตของสังคมในสมัยนั้น ทำให้การสามารถก่อสร้างพระราชวังที่ยิ่งใหญ่ขนาดนี้ได้นั้น สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาระดับสูงและเทคนิคทางด้านนวัตกรรมของประชาชนสมัยโบราณของจีนอย่างชัดเจน นอกจากนี้ การก่อสร้างพระราชวังต้องห้ามยังต้องการใช้ต้นไม้จำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่มาจากทางภาคใต้ของจีน เช่น มณฑลเสฉวน มณฑลกวางสี มณฑลกวางตุ้ง มณฑลยูนนานและมณฑลกุ้ยโจว ประชาชนจำนวนมากมายพากันตัดและขนส่งจากภูเขาและป่าไม้ธรรมชาติมายัังสถานที่ก่อสร้าง ส่วนวัสดุที่เป็นหินส่วนใหญ่ได้มาจากชานเมืองและเขตภูเขาที่ห่างจากกรุงปักกิ่งประมาณ 200-300 กิโลเมตร หินบางชิ้นนั้นมีน้ำหนักถึงหลายสิบหรือหลายร้อยตัน เช่น บันไดหินที่อยู่ข้างหลังพระตำหนัก "เป่าเหอเตี้ยน" ก็คือหินแกะสลักรูป " 9 มังกรดั้นเมฆ" ซึ่งก้อนหนึ่งมีน้ำหนักประมาณ 250 ตัน หลังจากพระราชวังต้องห้ามสร้างแล้วเสร็จ ในช่วง 500 กว่าปีของราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง มีจักรพรรดิของทั้งสองราชวงศ์ทั้งหมด 24 พระองค์เคยประทับอยู่ที่นี่ เป็นศูนย์กลางของอำนาจสูงสุดในทั้งสองราชวงศ์ ประวัติศาสตร์กว่า 500 ปีของพระราชสำนักราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงซึ่งรวมถึงการเคลื่อนไหวของจักรพรรดิและพระมเหษี ระบอบชนชั้น การต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจ การเซ่นไหว้บูชาทางศาสนาล้วนเกิดขึ้นภายในสถานที่แห่งนี้ สมัยนั้น ชาวบ้านธรรมดาแม้เพียงเดินใกล้ชิดกำแพงพระราชวังต้องห้ามก็นับเป็นการทำผิดกฎหมาย เนื่องจากพระราชสำนักเป็นใจกลางการปกครองประเทศสูงสุดของระบอบศักดินาที่มีความสมบูรณ์ในระดับสูงซึ่งในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง เหตุการณ์สำคัญๆ มักจะเกิดขึ้นโดยเกี่ยวข้องถึงการสืบทอดราชสมบัติและอำนาจของจักรพรรดิเสมอ เมื่อปี 1911 เกิดการปฏิวัติ "ซินไฮ่" โค่นอำนาจรัฐราชวงศ์ชิงลง ความจริงแล้ว พระราชวังต้องห้ามต้องตกเป็นของรัฐ แต่ "เงื่อนไขให้สิทธิพิเศษแก่พระบรมวงศานุวงศ์ของราชวงศ์ชิง" กำหนดไว้ว่า อ้ายซินเจวียหลัว ผู่อี๋ จักรพรรดิองศ์สุดท้ายของราชวงศ์ชิงผู้สละราชสมบัติได้รับการอนุญาตให้ "อยู่ในวังในของพระราชวังต้องห้ามชั่วคราว" หลังจากนั้น อ้ายซินเจวียหลัว ผู่อี๋ก็อยู่ในวังนี้ต่ออีก 14 ปี ถึงปี 1924 จอมพลเฝิง ยู่เสียงก่อ "การรัฐประหารปักกิ่ง" ไล่อ้ายซินเจวียหลัว ผู่อี๋ออกจากพระราชวังต้องห้าม ทั้งจัดตั้ง "คณะกรรมการจัดการกิจการพระราชสำนักราชวงศ์ชิง" รับมือบริหารพระราชวังต้องห้ามต่อไป หลังจากอ้ายซินเจวียหลัว ผู่อี๋ถูกไล่ออกจากพระราชวังต้องห้ามไปแล้ว แต่ฝั่งทางต้วน ฉีรุ่ยและพวกอดีตข้าราชการระดับสูงของราชวงศ์ชิงพากันวางแผนเชิญอ้ายซินเจวียหลัว ผู่อี๋กลับพระราชวังต้องห้ามอีก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณีนี้ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคมปี 1925 รัฐบาลจีนในขณะนั้นได้จัดตั้ง "พิพิธภัณฑ์กู้กง" ขึ้นอย่างเป็นทางการ และเปิดให้เข้าชมด้วย หลังจากปี 1925 พระราชวังต้องห้ามจึงเรียกว่า "กู้กง" หรือ "พระราชวังโบราณ" เนื่องจากพระราชวังต้องห้ามขาดการดูแล โดยเฉพาะในช่วง 38 ปีก่อนปี 1949 สิ่งก่อสร้างต่างๆ เสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ พระที่นั่งพังไปหลายแห่ง กองขยะก็ทับถมเหมือนภูเขา  ปี 1949 สาธารณรัฐประชาชนจีนสถาปนาขึ้น พอถึงปี 1961 คณะรัฐมนตรีจีนกำหนดพระราชวังต้องห้ามเป็น "โบราณสถานที่ต้องอนุรักษ์เป็นพิเศษระดับชาติ" ของจีน ในช่วงทศวรรษที่ 1950-60 จึงมีการบูรณะซ่อมแซมขนาดใหญ่ เมื่อปี 1987 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติกำหนดให้พระราชวังต้องห้ามเป็น "มรดกวัฒนธรรมโลก" โดยในชื่อปัจจุบันว่า "พิพิธภัณฑ์กู้กง"

 

พระราชวังฤดูร้อน (ปักกิ่ง)

            ตั้งอยู่ในเขตไห่เตี้ยน ห่างจากตัวเมืองปักกิ่งไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ 15 กิโลเมตร เดิมนั้นเป็นวังหลวงและสวนดอกไม้ของพระเจ้ากุบไลข่าน ในปี ค.ศ.1153 มีการต่อเติมในสมัยราชวงศ์หมิงและชิง โดยเฉพาะสมัยพระเจ้าคังซีถึงสมัยพระเจ้าเฉียนหลง ใช้เวลาถึง 60 ปี แล้วเสร็จในปี ค.ศ.1750 กษัตริย์ราชวงศ์ชิงทรงใช้เป็นที่เสด็จแปรพระราชฐานหนีความร้อนจากพระราชวังหลวงที่ปักกิ่ง ในฤดูร้อนมาประทับที่พระราชวังฤดูร้อนแห่งนี้ เป็นที่ยอมรับกันว่าอุทยานแห่งนี้เป็นอุทยานหลวงที่งดงามที่สุดของจีน

พระราชวังนี้ถูกทำลายลง 2 ครั้ง ครั้งแรกคือ ปีค.ศ. 1860 ยุคสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 โดยกองทหารอังกฤษและฝรั่งเศสบุกเข้าปล้นสะดมกรุงปักกิ่ง เผาทำลายสิ่งปลูกสร้างเป็นจำนวนมาก ต่อมาในปี ค.ศ.1886 พระนางซูสีไทเฮาได้นำเอาเงินงบประมาณของกองทัพเรือมาบูรณะพระราชวังฤดูร้อนขึ้นใหม่

ครั้งที่ 2 ถูกกองทัพชาติตะวันตกหลายชาติทำลายเพื่อตอบโต้พวกกบฏนักมวยในปี ค.ศ.1900 แต่พระนางซูสีไทเฮาก็ทรงบูรณะพระราชวังนี้ขึ้นอีกครั้งในปีค.ศ. 1903 เพราะพระองค์ทรงโปรดที่นี่มาก ประทับอยู่ที่นี่มากกว่าในกรุงปักกิ่งเสียอีก

 

สนามกีฬาโอลิมปิค 2008 (ปักกิ่ง)

ปักกิ่งสเตเดี้ยม หรือ เมนสเตเดี้ยม ของปักกิ่งเกมส์ มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Beijing National Stadium ถือเป็นสนามกีฬาดาวเด่นในการแช่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้เนื่องจากใช้ประกอบพิธีเปิดและพิธีปิดโอลิมปิก อีกทั้งยังใช้จัดการแข่งขันกีฬาบางประเภท เช่น กรีฑา ฟุตบอล อีกด้วย ทั้งนี้ ภายหลังการแข่งขันโอลิมปิก 2008 แล้ว สนามแห่งนี้จะใช้เป็นสนามแข่งขันระหว่างประเทศ หรือกิจกรรมทางกีฬาอื่นๆ  ส่วนที่เรียก ปักกิ่งสเตเดี้ยม ว่า "สนามรังนก" (Bird's Nest) นั้น เพราะลักษณะของสนามมีการออกแบบให้ดูคล้าย "รังนก" โดยใช้โครงเหล็กมาสอดประสานทับกันไปมา จนดูคล้ายรังนกขนาดใหญ่ จุผู้ชมได้ 91,000 ที่นั่ง (หลังโอลิมปิกจบลงจะลดลงเหลือเพียง 85,000 ที่นั่ง) ภายในมีที่นั่งสำหรับผู้ชมด้วยความสูงที่ลดหลั่นกันไป 7 ชั้น ส่วนบนของหลังคาเป็นเยื่อโปร่งแสง ซึ่งมีความคงทนต่อการสึกกร่อน เดิมทีจะมีหลังคาเปิด-ปิด แต่ด้วยต้นทุนที่สูงและเหตุผลเรื่องความปลอดภัย ทำให้จีนสั่งยกเลิกการสร้างหลังคาแบบเปิด-ปิดไป    สำหรับอัฒจันทร์แห่งนี้ มีความยาว 330 เมตร กว้าง 220 เมตร สูง 69.2 เมตร มีพื้นที่ 258,000 ตารางเมตร (เฉพาะส่วนที่ปูพื้นหญ้า) โดยสนามจะห่อด้วยแท่งเหล็กยาวโดยรวมถึง 36 กิโลเมตร มีน้ำหนักรวม 45,000 หมื่นตัน โดยสนามรังนกใช้งบประมาณในการก่อสร้างถึง 17,500 ล้านบาท  โดย "สนามรังนก" ก่อสร้างขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547 เสร็จสิ้นพร้อมเปิดใช้งานเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 เป็นผลงานการออกแบบร่วมกันระหว่าง Herzog & DeMeuron สถาปนิกชาวสวิตเซอร์แลนด์ ที่ออกแบบร่วมกับ China Architecture Design Institute และบริษัท Arup โดยมี อ้าย เหว่ย เหว่ย ศิลปินร่วมสมัยชาวจีนเป็นคนให้คำปรึกษาในการออกแบบ   อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่งที่นำเอา "รังนก" มาทำเป็นแบบ เพราะรังนกเป็นอาหารยอดนิยมของชาวจีน และบ่งบอกว่าอยู่ในประเทศจีน โดยรูปแบบของสนามเป็นเหมือนกับการสานของรังนก ที่ใช้แท่งเหล็กสานต่อกันไปมาจนกลายเป็นรัง ซึ่งแนวความคิดการออกแบบรังนกจะมีลักษณะเป็นวงกลม 3 รอบ คือ ด้านนอก แกนกลาง และด้านใน โดยแต่ละวงกลมจะช่วยพยุงซึ่งกันและกัน 

 

หอฟ้าเทียนถาน (ปักกิ่ง)

            เทียนถานตั้งอยู่ทางทิศใต้ของกรุงปักกิ่ง สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง ค.ศ.1420 เปิดให้ผู้คนทั่วไปสามารถเข้าได้เมื่อปี 1949 มีเนื้อที่ทั้งหมด 2.73 ตารางกิโลเมตร เป็นสถานที่ซึ่งจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิงใช้เป็นที่บวงสรวงเทพยดา พระจักรพรรดิจะเสด็จไปประกอบพระราชพิธีบวงสรวงที่นั่นเพื่อให้การเก็บเกี่ยวได้ผลอุดม ตั้งแต่เริ่มนั้นเทียนถานใช้เป็นสถานที่บูชาทั้งฟ้าและดิน จนมาถึงสมัยของฮ่องเต้เจียจิ้งแห่งราชวงศ์หมิง (พ.ศ.2065-2110) จึงได้มีการสร้างหอบูชาดิน หอบูชาพระอาทิตย์ และหอบูชาพระจันทร์ แยกออกไปต่างหาก เทียนถานจึงเหลือชื่อเรียกเพียงหอบูชาฟ้า หอบูชาฟ้า เทียนถาน คำว่าเทียน Tian ในชื่อเทียนถาน หมายถึง ฟ้า ส่วนคำว่า ถาน Tan หมายถึง แท่นบูชา เคยสร้างและถูกทำลาย และเสียหายหลายครั้ง แต่ก็บูรณะขึ้นใหม่ทุกครั้ง ตำหนักที่โดดเด่นที่สุด และสำคัญที่สุดคือ ตำหนักฉีเหนียนเตี้ยน หรือ "ตำหนักสักการะ" ซึ่งจักรพรรดิหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง โปรดให้สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1420เพื่อเป็นสถานที่ บวงสรวงสวรรค์ให้พืชพันธุ์ธัญญาหารในราชอาณาจักรมีความอุดมสมบูรณ์ของศิลปะ สถาปัตยกรรมของตำหนักนี้ จะใช้รูปทรงกลมเป็นต้นแบบ เนื่องจากความเชื่อว่า วงกลมหมายถึงโลกมนุษย์ สร้างเป็นแบบอาคารไม้ทรงกระบอกสูง 40 เมตร สร้างซ้อนกันขึนไป 3 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องสีน้ำเงินเข้ม สีน้ำเงินเข้มของหลังคา มีความหมายว่าสวรรค์ มีเสารองรับน้ำหนักรวม 28 ต้น ภายในอาคารมีเสากลางขนาดใหญ่ 4 ต้น เป็นตัวแทนของฤดูกาลทั้ง 4 ภายนอกชั้นแรก จะมีเสา 12 ต้น เป็นตัวแทนของเดือนทั้ง 12 เดือน และ 12 ต้นอยู่ภายนอกสุด แทนความหมายของ 12 ชั่วยามในหนึ่งวันตามหน่วยเวลาของจีนโบราณ และทางใต้ของอาคาร จะเป็นลานหินอ่อนรูปวงกลม คือแท่นบวงสรวงสวรรค์ หรือหยวนชิวถาน ที่เรียกกันว่าหอบูชาฟ้า เพราะตามความเชื่อของจีนโบราณ องค์จักรพรรดิทุกพระองค์จะนำข้าราชบริพารและเหล่าขุนนางกว่า 1,000 คน มาทำพิธีเซ่นไหว้บวงสรวงแด่สวรรค์ เพื่อทำการขอบคุณเทวดาที่ทำให้พืชผลเก็บเกี่ยวได้อย่างสมบูรณ์ และขอให้ฤดูกาลที่จะมาถึงพืชพันธุ์และน้ำท่าบริบูรณ์  ตำหนักหวงฉุงหยีว์ Huangqiongyu หรือ ตำหนักเทพสถิต เป็นอาคารรูปทรงกลม สร้างเมื่อ พ.ศ.2073 ในสมัยของฮ่องเต่เจียจิ้งแห่งราชวงศ์หมิง ทำด้วยไม้ทั้งหลัง แต่ผนังโค้งด้านหลังก่อด้วยอิฐ หลังคามุงด้วยกระเบื้องสีน้ำเงิน ชื่อเรียกตำหนักเทพสถิตมาจากการที่ใช้ตำหนักแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานแผ่นป้ายของเทพเจ้าต่าง ๆ ที่ใช้ในการสักการะบวงสรวงฟ้าหรือสวรรค์ ภายในหอตั้งป้ายชื่อเทพเจ้าฟ้าดิน พระอาทิตย์และพระจันทร์ ใช้ในพิธีบวงสรวงของฮ่องเต้

 

หยวนซิวถาน Yuanqiutan หรือ แท่นบวงสรวงฟ้า

หยวนซิวถานเป็นเนินรูปวงกลมสูงจากระดับพื้น 5 เมตร แยกออกเป็น 3 ชั้น สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2073 ในสมัยของฮ่องเต่เจียจิ้งแห่งราชวงศ์หมิง แต่มาปรับปรุงขยับขยายให้ดูยิ่งใหญ่ขึ้นในสมัยของฮ่องเต้เฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิงเมื่อ พ.ศ.2292 ใช้เป็นสถานที่ที่ฮ่องเต้มาประกอบพิธีบวงสรวงสักการะฟ้าหรือสวรรค์เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ล้อมรอบด้วยรั้วหินหยกขาว แกะสลักเป็นลวดลายเมฆและมังกร

 

หอไข่มุก (เซี่ยงไฮ้)

หอไข่มุก เซี่ยงไฮ้ ตั้งอยู่ในย่านผู่ตง หรือ เขตเมืองใหม่ของนครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ทางด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำหวงผู่ เต็มไปด้วยตึกระฟ้า หอไข่มุกมีลักษณะเป็นไข่มุก 11 ลูก และ เสา 3 เสา ด้านบนเป็นรูปไข่มุก 3 เม็ด 3 ขนาดเรียงกันในแนวตั้ง ด้านใต้ตรงฐานของหอจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เมืองเซี่ยงไฮ้เมืองจำลองโลกอนาคต และเมืองวิทยาศาสตร์แฟนตาซี ช่องกลางของหอไข่มุกตะวันออกเป็นเสาปล่องกลวง ใช้แขวนลิฟท์ความเร็วสูง 6 ตัว ที่มีความเร็ว 7 เมตร/วินาทีใช้สำหรับขึ้นไปที่จุดชมวิวอันสวยงามในระดับความสูง 267 เมตร ส่วนในเวลากลางคืนนั้น หอกลมจะเปิดไฟที่สามารถเปลี่ยนสีไปได้เรื่อยๆ บนไข่มุกเม็ดที่สองจะสามารถมองลงมาข้างล่างได้เนื่องจากทำพื่นเป็นกระจก หอไข่มุก เซี่ยงไฮ้ นี้สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1994 เป็นหอส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ มีความสูง 468 เมตร เป็นหอส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่สูงที่สุดในเอเชีย ที่สุดในเอเชีย และสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจาก หอส่งสัญญาณโทรทัศน์ CN Tower ในเมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา และ Ostankino Tower ในเมืองมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย ซึ่งนับว่าเป็นตึกที่สูงเป็นอันดับสองของเซียงไฮ้ รองจากตึก Jinmao Tower ปัจจุบัน หอไข่มุก เซี่ยงไฮ้ แห่งนี้ นับได้ว่าเป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นของเมืองเซี่ยงไฮ้ ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองเซี่ยงไฮ้อีกด้วย  หอไข่มุกเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมตั้งแต่เวลา 8.30-21.30 น. ของทุกวัน การเข้าชม จะต้องซื้อตั๋วเข้าชม โดยมีราคาให้เลือก 3 ระดับราคา คือ 50 หยวน สำหรับการเข้าชมที่ระดับความสูงของไข่มุกเม็ดที่ 1 หรือ เม็ดล่างสุด สูงจากพื้น 90 เมตร นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะมาชมวิวที่ชั้นนี้ 85 หยวน สำหรับเข้าชมที่หอไข่มุกเม็ดที่ 2 ไข่มุกเม็ดนี้อยู่สูงถึง 263 เมตร ชั้นนี้เป็นชั้นที่มีสถานบนเทิงมากมาย ตั้งแต่ บาร์ คาราโอเกะ ร้านอาหาร ที่สามารถชมวิวเมืองเซี่ยงไฮ้ ได้ถึง 360 องศา ระดับสุดท้าย คือ 100 หยวน คือไข่มุกเม็ดสุดท้ายที่อยู่บนสุด สูงถึง 350 เมตร ประกอบด้วยธงชาติของประเทศต่าง พร้อมลายเซ็นของผู้นำหรือบุคคลสำคัญของประเทศนั้นๆ รวมถึงมีลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีด้วย

 

หาดเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ (เซี่ยงไฮ้)

            สถานที่ยอดนิยมที่นักท่องเที่ยวต่างติดใจและบอกต่อกันมากก็คือ หาดไว่ทัน หรือ เดอะบันด์ เป็นย่านถนนริมแม่น้ำหวงผู่ ที่มีความยาว 1.5 กม. อยู่ในฝั่งเมืองเก่า เป็นสัญลักษณ์ของเมืองเซี่ยงไฮ้ยุคเก่า เนื่องจากที่แห่งนี้เคยเป็นเมืองอาณานิคมมาก่อน จึงจะเห็นสถาปัตยกรรมเป็นสไตล์ยุโรปโบราณอยู่ตลอดทางเดิน และยังคงอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี ที่หาดแห่งนี้เคยเป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ที่โด่งดังในอดีต จึงถูกเรียกว่า หาดเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้

 

ตึก SWFC (เซี่ยงไฮ้)

           สถาปัตยกรรมของอาคารอาคารเซี่ยงไฮ้ ไฟแนนเชียล เซ็นเตอร์(SWFC) มีความสูง 492 เมตรจากพื้นดิน มีตัวอาคารทั้งหมด 101ชั้น ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยนายมิโนรุ โมรินักพัฒนาที่ดินชาวญี่ปุ่น ซึ่งสนใจลงทุนและพัฒนาที่ดินในเขตผู่ตงของเซี่ยงไฮ้ให้มีชีวิตชีวา โดยงบประมาณการก่อสร้างราว 1,400 ล้านเหรียญสหรัฐ รวมระยะเวลาในการสร้าง 14 ปี ซึ่งจะเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวรอบปฐมฤกษ์ในวันเสาร์ที่ 30 สิงหาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 8.00 น. - 23.00 น.อย่างไรก็ตาม ภายในอาคารดังกล่าวนอกจากจะมีโถงชมวิวแล้ว ยังประกอบไปด้วยโรงแรมหรู ร้านค้าต่างๆ อีกด้วย โดยความสูงของโถงชมวิวแห่งนี้ใกล้เคียงกับโถงชมวิวสกาย พอด ของอาคารซีเอ็น ทาวเวอร์ ในเมืองโตรอนโต ของแคนาดา ที่มีความสูง 447 เมตร

Visitors: 812,539